– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – [ Modern knowledge ] – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

พลังงานทดแทน

รูปภาพ

พลังงานทดแทน หมายถึงพลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง

รูปภาพ

พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนประเภทหมุนเวียนที่ใช้แล้วเกิดขึ้นใหม่ได้ตามธรรมชาติ เป็นพลังงานที่สะอาด ปราศจากมลพิษ และเป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง ในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สามารถจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบคือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตความร้อน

รูปภาพ

พลังงานน้ำ เป็นรูปแบบหนึ่งการสร้างกำลังโดยการอาศัยพลังงานของน้ำที่เคลื่อนที่ ปัจจุบันนี้พลังงานน้ำส่วนมากจะถูกใช้เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้แล้วพลังงานน้ำยังถูกนำไปใช้ในการชลประทาน การสี การทอผ้า และใช้ในโรงเลื่อย พลังงานของมวลน้ำที่เคลื่อนที่ได้ถูกมนุษย์นำมาใช้มานานแล้วนับศตวรรษ โดยได้มีการสร้างกังหันน้ำ (Water Wheel) เพื่อใช้ในการงานต่างๆ ในอินเดีย และชาวโรมันก็ได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อใช้ในการโม่แป้งจากเมล็ดพืชต่างๆ ส่วนผู้คนในจีนและตะวันออกไกลก็ได้มีการใช้พลังงานน้ำเพื่อสร้าง Pot Wheel เพื่อใช้ในวิดน้ำเพื่อการชลประทาน โดยในช่วงทศวรรษ 1830 ซึ่งเป็นยุคที่การสร้างคลองเฟื่องฟูถึงขีดสุด ก็ได้มีการประยุกต์เอาพลังงานน้ำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเรือขึ้นและลงจากเขา โดยอาศัยรางรถไฟที่ลาดเอียง (Inclined Plane Railroad :Funicular)โดยตัวอย่างของการประยุกต์ใช้แบบนี้ อยู่ที่คลอง Tyrone ในไอร์แลนด์เหนือ อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประยุกต์ใช้พลังงานน้ำในยุคแรกนั้นเป็นการส่งต่อพลังงานโดยตรง (Direct Mechanical Power Transmission) ทำให้การใช้พลังงานน้ำในยุคนั้นต้องอยู่ใกล้แหล่งพลังงาน เช่น น้ำตก เป็นต้น ปัจจุบันนี้ พลังงานน้ำได้ถูกใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งต่อพลังงานไปใช้ในที่ที่ห่างจากแหล่งน้ำได้

พลังงานน้ำเกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานศักย์จากความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก การนำเอาพลังงานน้ำมาใช้ประโยชน์ทำได้โดยให้น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ พลังงานศักย์ของน้ำถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนนี้คือ กังหันน้ำ (Turbines) น้ำที่มีความเร็วสูงจะผ่านเข้าท่อแล้วให้พลังงานจลน์แก้กังหันน้ำ ซึ่งหมุนขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ในปัจจุบันพลังงานที่ได้จากแหล่งน้ำที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ พลังงานน้ำตก พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง พลังงานคลื่น

1. พลังงานน้ำตก การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำนี้ทำได้โดยอาศัยพลังงานของน้ำตก ออกจากน้ำตามธรรมชาติ หรือน้ำตกที่เกิดจากการดัดแปลงสภาพธรรมชาติ เช่น น้ำตกที่เกิดจากการสร้างเขื่อนกั้นน้ำ น้ำตกจากทะเลสาบบนเทือกเขาสู่หุบเขา กระแสน้ำในแม่น้ำไหลตกหน้าผา เป็นต้น การสร้างเขื่อนกั้นน้ำและให้น้ำตกไหลผ่านกังหันน้ำซึ่งติดอยู่บนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากำลังงานน้ำที่ได้จะขึ้นอยู่กับความสูงของน้ำและอัตราการไหลของน้ำที่ปล่อยลงมา ดังนั้นการผลิตพลังงานจากพลังงานนี้จำเป็นต้องมีบริเวณที่เหมาะสมและการสร้างเขื่อนนั้นจะต้องลงทุนอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามจากการสำรวจคาดว่าทั่วโลกสามารถผลิตกำลังไฟฟ้าจากกำลังน้ำมากกว่าพลังงานทดแทนประเภทอื่น 
2. พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง มีพื้นฐานมาจากพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ของระบบที่ประกอบด้วยดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ จึงจัดเป็นแหล่งพลังงานประเภทใช้แล้วไม่หมดไป สำหรับในการเปลี่ยนพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงให้เป็นพลังงานไฟฟ้า คือ เลือกแม่น้ำหรืออ่าวที่มีพื้นที่เก็บน้ำได้มากและพิสัยของน้ำขึ้นน้ำลงมีค่าสูงแล้วสร้างเขื่อนที่ปากแม่น้ำหรือปากอ่าว เพื่อให้เกิดเป็นอ่างเก็บน้ำขึ้นมา เมื่อน้ำขึ้นจะไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำ และเมื่อน้ำลงน้ำจะไหลออกจากอ่างเก็บน้ำ การไหลเข้าออกจากอ่างของน้ำต้องควบคุมให้ไหลผ่านกังหันน้ำที่ต่อเชื่อมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เมื่อกังหันน้ำหมุนก็จะได้ไฟฟ้าออกมาใช้งานหลักการผลิตไฟฟ้าจากน้ำขึ้นน้ำลงมีหลักการเช่นเดียวกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำตก แต่กำลังที่ได้จากพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงจะไม่ค่อยสม่ำเสมอเปลี่ยนแปลงไปมากในช่วงขึ้นลงของน้ำแต่อาจจัดให้มีพื้นที่กักน้ำเป็นสองบริเวณหรือบริเวณพื้นที่เดียว โดยการจัดระบบการไหลของน้ำระหว่างบริเวณบ่อสูงและบ่อต่ำ และกักบริเวณภายนอกในช่วงที่มีการขึ้นลงของน้ำอย่างเหมาะสม จะทำให้กำลังงานพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงสม่ำเสมอดีขึ้น
3. พลังงานคลื่น เป็นการเก็บเกี่ยวเอา พลังงานที่ลม ถ่ายทอดให้กับผิวน้ำในมหาสมุทรเกิดเป็นคลื่นวิ่งเข้าสู่ชายฝั่งและเกาะแก่งต่างๆเครื่องผลิต ไฟฟ้าพลังงานคลื่นจะถูกออกแบบให้ลอยตัวอยู่บนผิวน้ำบริเวณหน้าอ่าวด้านหน้าที่หันเข้าหา คลื่น การใช้คลื่นเพื่อผลิตไฟฟ้านั้นถ้าจะให้ได้ผลจะต้องอยู่ในโซนที่มียอดคลื่นเฉลี่ยอยู่ที่ 8 เมตร ซึ่งบริเวณนั้นต้องมีแรงลมด้วย แต่จากการวัดความสูงของยอดคลื่นสูงสุดในประเทศไทยที่จังหวัดระนองพบว่า ยอดคลื่นสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 4 เมตรเท่านั้น ซึ่งก็แน่นอนว่าด้วยเทคโนโลยี การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานคลื่นในปัจจุบันนั้นยังคงไม่สามารถใช้ในบ้านเราให้ผลจริงจังได้

รูปภาพ

พลังงานลม ลมเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุนของโลก พลังงานลมเกิดจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบโลกทำให้อากาศร้อน และลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากบริเวณอื่นซึ่งเย็นและหนาแน่นมากกว่าจึงเข้ามาแทนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดลม และมีอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวฝั่งทะเลอันดามันและด้านทะเลจีน (อ่าวไทย) สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเร็วลมและกำลังลม เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าลมเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเอง ซึ่งในบางครั้งแรงที่เกิดจากลมอาจทำให้บ้านเรือนที่อยู่อาศัยพังทลายต้นไม้หักโค่นลง สิ่งของวัตถุต่างๆ ล้มหรือปลิวลอยไปตามลม ฯลฯ ในปัจจุบันมนุษย์จึงได้ให้ความสำคัญและนำพลังงานจากลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อหา เป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น ศักยภาพของพลังงานลมที่สามารถ นำมาใช้ประโยชน์ได้สำหรับประเทศไทย มีความเร็ว อยู่ระหว่าง 3 – 5 เมตรต่อวินาที และความเข้มพลังงานลมที่ประเมินไว้ได้อยู่ระหว่าง 20 – 50 วัตต์ต่อตารางเมตร

รูปภาพ

พลังงานความร้อนใต้พิภพ คือ พลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความร้อน ที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก (Geo = โลก, Thermal = ความร้อน) โดยปกติแล้วอุณหภูมิภายใต้ผิวโลกจะเพิ่มขึ้นตามความลึก กล่าวคือยิ่งลึกลงไป อุณหภูมิจะยิ่งสูงขึ้น และในบริเวณส่วนล่างของชั้นเปลือกโลก (Continental Crust) หรือที่ความลึกประมาณ 25-30 กิโลเมตร อุณหภูมิจะมีค่าอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย ประมาณ 250 ถึง 1,000ฐC ในขณะที่ตรงจุดศูนย์กลางของโลก อุณหภูมิอาจจะสูงถึง 3,500 ถึง 4,500 C การเกิดของพลังงานความร้อนใต้พิภพ ลักษณะของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่พบในโลก แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพมีอยู่ในเขตใดบ้างในโลก

รูปภาพ

พลังงานชีวมวล (Bio-energy) หมายถึง พลังงานที่ได้จากชีวมวลชนิดต่างๆ ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น โดยกระบวนการแปรรูปชีวมวลไปเป็นพลังงานรูปแบบต่างๆ มีดังนี้คือ

1.การเผาไหม้โดยตรง (combustion) เมื่อชีวมวลมาเผา จะได้ความร้อนออกมาตามค่าความร้อนของชนิดชีวมวล ความร้อนที่ได้จากการเผาสามารถนำไปใช้ในการผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิ และความดันสูงไอน้ำนี้จะถูกนำไปขับกังหันไอน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าต่อไป ตัวอย่างชีวมวลประเภทนี้คือ เศษวัสดุทางการเกษตร และเศษไม้

2.การผลิตก๊าซ (gasification) เป็นกระบวนการเปลี่ยนเชื้อเพลิงแข็งหรือชีวมวลให้เป็นแก๊สเชื้อเพลิง เรียกว่าแก๊สชีวภาพ (biogas) มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทน แก๊สไฮโดรเจน แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์

สามารถนำไปใช้สำหรับกังหันแก๊ส(gas turbine)

3.การหมัก (fermentation) เป็นการนำชีวมวลมาหมักด้วยแบคทีเรียในสภาวะไร้อากาศ ชีวมวลจะถูกย่อยสลายและแตกตัว เกิดแก๊สชีวภาพ(biogas) ที่มีองค์ประกอบของแก๊สมีเทนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ แก๊สมีเทนใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์สำหรับผลิตไฟฟ้า นอกจากนี้สามารถใช้ขยะอินทรีย์ชุมชน มูลสัตว์ น้ำเสียจากชุมชนหรืออุตสาหกรรมเกษตร เป็นแหล่งวัตถุดิบชีวมวลได้

4.การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากพืช มีกระบวนการที่ใช้ผลิตดังนี้

กระบวนการทางชีวภาพ ทำการย่อยสลายแป้ง น้ำตาล และเซลลูโลสจากพืชทางการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข้าวฟ่างหวาน กากน้ำตาล และเศษลำต้นอ้อย ให้เป็นเอทานอล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงเหลวในเครื่องยนต์เบนซิน

กระบวนการทางฟิสิกส์และเคมี โดยสกัดน้ำมันออกจากพืชน้ำมัน จากนั้นนำน้ำมันที่ได้ไปผ่านกระบวนการทรานส์เอสเตอริฟิเคชั่น (transesterification) เพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล

กระบวนการใช้ความร้อนสูง เช่นกระบวนการไพโรไลซิส เมื่อวัสดุทางการเกษตรได้ความร้อนสูงในสภาพไร้ออกซิเจน จะเกิดการสลายตัว เกิดเป็นเชื้อเพลิงในรูปของเหลวและแก๊สผสมกัน

พลังงานชีวมวลได้แก่ เอทานอล และไบโอดีเซล

ข้อมูลทั้งหมดได้มาจากhttp://www.thaigoodview.com/node/51213

สมาชิก

นาย ริคาร์โด้ เลิศฤทธิ์        ม.3/คอมพิวเตอร์ เลขที่ 19

นางสาว จุฑามณี ธิยะ         ม.3/คอมพิวเตอร์ เลขที่ 28

นางสาว ปภาวรินท์ สมศรี    ม.3/คอมพิวเตอร์ เลขที่ 31

นางสาว พิชญ์สินี เผ่าต๊ะใจ ม.3/คอมพิวเตอร์ เลขที่ 33

วงดนตรี

ประเภทของวงดนตรีสากล

ประเภทของวงดนตรีสากล แบ่งได้เป็น 8 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1.วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)

หมายถึงวงดนตรีประเภทบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถง หรือสถานที่ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อยในสมัยแรกเล่นกันในห้องโถง

ตามราชสำนักหรือ คฤหาสถ์ของขุนนางในยุโรป และนักดนตรีเล่นกันเองในหมู่เพื่อนฝูง ต่อมาคนเริ่มสนใจมากขึ้นสถานที่คับแคบ จึงเลื่อนไปเล่นในห้อง

โถงใหญ่และใน Concert Hall ซึ่งจัดไว้เพื่อการแสดงดนตรีโดยเฉพาะ แชมเบอร์มิวสิค เน้นความสำคัญของนักดนตรีทุกคนเท่าๆ กัน โดยปกติจะมี

นักดนตรี 2-9 คนและเรียกชื่อต่างๆกันตามจำนวนของผู้บรรเลง ดังนี้

จำนวนผู้บรรเลง 2  คน  เรียกว่า  ดูโอ (Duo)

จำนวนผู้บรรเลง 3  คน  เรียกว่า  ทรโอ (Trio)

จำนวนผู้บรรเลง 4  คน  เรียกว่า  ควอเตท (Quartet)

จำนวนผู้บรรเลง 5  คน  เรียกว่า  ควินเตท (Quintet)

จำนวนผู้บรรเลง 6  คน  เรียกว่า  เซกซ์เตท (Sextet)

จำนวนผู้บรรเลง 7  คน  เรียกว่า  เซปเตท (Septet)

จำนวนผู้บรรเลง 8  คน  เรียกว่า  ออกเตท (Octet)

จำนวนผู้บรรเลง 9  คน  เรียกว่า  โนเนท (Nonet)

วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music) วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music) วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music) วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music)

 การเรียกชื่อจะต้องบอกชนิดของเครื่องและจำนวนของผู้เล่นเสมอ เช่น

สตริงควอเตท (String Quartet)  มี   ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน แล ะเชลโล 1 คัน

 สตริงควินเตท (String Quintet)  มี ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา1คัน เชลโล 1 คันและดับเบิลเบส 1คัน

 วูดวินควินเตท(Wood -Wind Quintet) ประกอบด้วย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ 5คน

ได้แก่ฟลุ๊ต ปี่โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน และเ ฟรนซ์ฮอร์น       

แชมเบอร์มิวสิคยังไม่จำกัดประเภทของเครื่องดนตรีแต่ตระกูลไวโอลินจะเหมาะที่สุด เพราะเสียงของเครื่องดนตรี

ตระกูลนี้กลมกลืนกัน

ในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำไรน์และได้รับการปรับปรุงอีกครั้งในสมัยของไฮเดินและก็เจริญมาเป็นลำดับ

( *สำหรับปัจจุบันแล้ววงแชมเบอร์มิวสิคยังคงได้รับความที่นิยมนำไปใช้บรรเลงในงานฉลองมงคลสมรสอีกด้วย* )

ถ้าการบรรเลงของแชมเบอร์มิวสิคเกิน 9 คน แต่ไม่ถึง 20 คน  เรียก อังซังเบลอ (ensemble) 

เช่น วินด์อังซังเบลอกับดับเบิ้ลเบส ของ  โมสาร์ท เป็น Serenade  สำหรับเครื่องลม Bแฟลต   

สตริงควอเตท (String Quartet) 

สตริงควอเตท (String Quartet) 

 

 

 

 

สตริงควอเตท (String Quartet) 

 

 

 

 

 

 

วงออร์เคสตร้าOrchestra

วงออร์เคสตร้าOrche

วงออร์เคสตร้าOrche

2.วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า (Symphony Orchestra)วงประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย

เครื่องดนตรีครบทุกกลุ่ม  ขนาดของวงมีขนาดเล็ก 40-60 คนขนาดกลาง 60-80 คน

และ วงใหญ่  80-110 คน หรือมากกว่านั้น ขนาดของวงจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับเครื่องสายเป็นหลัก

และ ผู้เล่นต้องมีฝีมือดี รวมถึงวาทยากร(conductor)ก็ต้องมีความสามารถอย่างยอดเยี่ยม

ถ้าใช้เฉพาะเครื่องสายของวง Symphony  Orchestra ก็เรียกว่า String Orchestra

 

3.วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular Music)หรือวงดนตรีลีลาศ ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงทั่วไป

 ประกอบด้วยเครื่องดนตรีีกลุ่มแซกโซโฟนกลุ่มเครื่องทองเหลืองและกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ

ปอปปูลามิวสิค ส่วนใหญ่มี  3 ขนาด

1.วงขนาดเล็ก(วง 4×4)  มีเครื่องดนตรี  12 ชิ้น ดังนี้

กลุ่มแซ็ก  ประกอบด้วย  อัลโตแซ็ก 1  คัน เทเนอร์แซ็ก 2  คันบาริโทน แซ็ก 1 คัน

กลุ่มทองเหลือง ประกอบด้วย ทรัมเป็ต 3  คัน ทรอมโบน 1 คัน

กลุ่มจังหวะ ประกอบด้วย  เปียโน 1 หลัง กีตาร์คอร์ด 1 ตัว เบส 1  ตัว กลองชุด  1  ชุด

(วง 4 x 4 หมายถึง ชุดแซก 4 ชุด ทองเหลือง 4 ชุดตามลำดับ ส่วนเครื่องประกอบจังหวะ 4

ละไว้ในฐานที่เข้าใจ)

2.วงขนาดกลาง (5×5) มีเครื่องดนตรี 14 ชิ้น  คือ เพิ่มอัลโตแซ็ก และ ทรอมโบน

3.วงขนาดใหญ่  (5 x 7)  มี 16  ชิ้น  เพิ่ม  ทรัมเป็ตและทรอมโบนอย่างละตัว

ในปัจจุบันใช้กีตาร์เบสแทนดับเบิ้ลเบส และ บางทีก็ใช้ออร์แกนแทนเปียโนคะ

 

วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular Music)

 

วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular Music)

 

วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular Music)

วงคอมโบ (Combo band)

 

4.วงคอมโบ (Combo  band) หรือ สตริงคอมโบ

เป็นวงที่เอาเครื่องดนตรีบางส่วนมาจาก  Popular  Music อีกทั้งลักษณะของเพลงและสไตล์การเล่นก็เหมือนกัน 

จำนวนเครื่องดนตรีส่วนมากอยู่ระหว่างประมาณ  3 –10 ชิ้น เครื่องดนตรีจะมี พวกริทึม(Rhythm) และ

พวกเครื่องเป่าทั้งลมไม้และเครื่องทองเหลือง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นหลักคือ กลองชุด เบส เปียโนหรือมีเครื่องเป่า

ผสมด้วยจะเป็นเครื่องลมไม้หรือทองเหลืองก็ได้ไม่จำกัดจำนวนแต่รวมแล้วต้องไม่เหมือนกับปอปปูลามิวสิค

วงคอมโบก็เป็นสมอลล์แบนด์ (small Band)แบบหนึ่ง ดังนั้นวงนี้จึงเป็นวงที่มีขนาดไม่ใหญ่นักจึงเหมาะสำหรับ

เล่นตามงานรื่นเริงทั่วๆไปนอกจากนั้นยังเหมาะสำหรับเพลงประเภทไลท์มิวสิคอีกด้วยเพลงไทยสากลและเพลง

สากลในปัจจุบันที่ใช้วงคอมโบเล่นตามห้องอาหารหรืองานสังสรรค์ต่างๆประกอบด้วยเครื่องดนตรี  ดังต่อไปนื้

1.แซ็กโซโฟน 2ทรัมเป็ต 3 ทรอมโบน 4 เปียโนหรือออร์แกน 5 กีตาร์คอร์ด 6 กีตาร์เบส

 

5. วงชาร์โด(Shadow) 

เป็นวงดนตรีขนาดเล็กเริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ 20ปีมานี่เองในอเมริกาวงดนตรีประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือคณะTheBeattleหรือสี่เต่าทองเครื่องดนตรี

ในสมัยแรก มี4 ชิ้น คือ1. กีตาร์เมโลดี้(หรือกีตาร์โซโล)  2. กีตาร์คอร์ด 3. กีตาร์เบส  4. กลองชุดวงชาโดว์ในระยะหลังได้นำออร์แกนและพวกเครื่องเป่า

เช่นแซกโซโฟน ทรัมเป็ตทรอมโบนเข้ามาผสม และบางทีอาจมีไวโอลินผสมด้วยเพลงของพวกนี้ส่วนใหญ่จะเร่าร้อน ซึ่งได้รับความนิยมมากในหมู่วัยรุ่น 

โดยเฉพาะเพลงประเภท  อันเดอร์กราว

วงชาร์โด(Shadow) วงชาร์โด(Shadow) วงชาร์โด(Shadow) 

 

แบบของแจ๊๊สที่ควรรู้จัก

 Blues Jazz เพลงบลูส์ 

เป็นเพลงเก่าแก่ของ แจ๊๊ส มาจากเพลงสวดอันโหยหวลของพวกนิโกร เพลงบลูส์มีอายุร่วม100 ปี 

เกิดขึ้นที่นิวออร์ลีนแถบปากแม่น้ำมิสซิสซิปปี แต่สมัยแรกๆไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ต่อมา พ.ศ. 2467 ได้มีการอัดแผ่นเสียงจำหน่าย 

จึงแพร่หลายได้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งดนตรีได้มีโอกาสไปแสดงตามที่ต่างๆ ในสมัยแรกๆ เพลงบลูส์ใช้กีตาร์เล่นนำ และคลอเสียงร้อง

เล่นกันตามข้างถนน  ตามย่านชุมชน คนผ่านไปมาก็ให้เงินบ้างไม่ให้บ้าง  เนื้อร้องร้องไปคิดไป ไม่มีการเตรียมไว้ล่วงหน้ามาก่อน 

ดังนั้นร้องกี่ครั้งก็ไม่เหมือนกัน  นึกจะจบก็จบเอาดื้อๆ คล้ายกับเพลงฉ่อยของประเทศไทย  เพลงบลูส์ได้รับอิทธิพลจากศาสนามาก

ดังนั้นเนื้อร้องก็มีเกี่ยวกับเรื่องศาสนาเข้ามาปนอยู่ด้วย  ต่อมาเพลงบลูส์ได้เจริญขึ้นก็นำไปเล่นกับวงแจ๊๊สก็กลายเป็นบลูส์์แจ๊๊ส

เพลงประเภทนี้ส่วนมากจังหวะช้าๆ ครั้งแรกที่ไม่ค่อยนิยมเพลงบลูส์เนื่องจากโน้ตค่อนข้างยาก

ต่อมาอาร์มาสตรองนำมาเล่นในปี พ.ศ. 2472 จึงเป็นแรงหนึ่งที่ทำให้รับความนิยม

New orlean and dixieland style ทั้ง 2 แบบเหมือนกันมากจนแทบจะแยกกันไม่ออก เริ่มขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19

และมาแพร่หลายในปพ.ศ 2473 ต่อมาอาร์มาสตรองนำมาเล่นในปี พ.ศ. 2472

ต่อมามีทรอมโบนและคลาริเ็น็ท เบนโจ กีตาร์ ทูบา กลอง เปียโน  แซ็กโซโฟน ปัจจุบันใช้เบสแทนทูบา 

นิยมให้ทรัมเป็ตเป็นตัวนำก่อนแล้วจึงเล่นพร้อมกันทั้งวงและเล่นกันเฉพาะทำนอง เพราะยังไม่มีใครรู้จัก

Adlibกันเท่าไหร่  กลองก็เล่นจังหวะธรรมดา  

Modern  Style  โฉมหน้าของแจ๊๊สได้เปลี่ยนไปมากเมื่อหลุยส์  อาร์มสตรองได้คิดวิธีเล่นใหม่ คือ มีทำนองหลักแล้วผลัดกันเล่นทีละคน 

แต่ละคน Adlib  กันอย่างสนุกสนานและเล่นค่อนข้างเร็วมาก  บางทีก็เล่นพร้อมๆ กัน ฟังดูเหมือนต่างคนต่างเล่น

แต่อยู่ในกรอบอันเดียวกัน   Bop Style  ผู้ที่คิดขึ้น  คือ The  lonious  Monk  กับ  Dizzy  gillespie

โดยเอาแบบของยุโรปมาผสมมีการเปลี่ยนแปลงทำนองและจังหวะ  ใช้คอร์ดเป็นหลัก  เล่นเร็วมาก ผลัดกันเล่นทีละชิ้น

                จังหวะของแจ๊๊สในยุคหลังก็ได้เกิดขึ้นใหม่ๆ

  Swing 

แบบนี้กู๊ดแมน เป็นผู้ให้กำเนิดจังหวะนี้  เมื่อก่อนกู๊ดแมนเล่นคลาริเน็ทกับพวกผิวดำ  ต่อมาได้แยกออกมาเล่นกับพวกผิวขาวด้วยกัน

และเขาได้แต่งเพลงใหม่ขึ้น และได้ให้ชื่อเพลงใหม่นี้ว่า Swing    

Rock n’ Roll  ก็แตกแขนงจาก แจ๊๊ส เมื่อราว พ.ศ. 2493  ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่วัยรุ่นและแพร่หลายอย่างรวดเร็วในอเมริกา

ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชาเพลงร๊อคก็คือ  เอลวิส  เพรสลี่ (เสียชีวิตเมื่อ ส.ค. 2520)         

เพลงแจ๊๊สที่เราคุ้นๆ หูก็คือเพลง  When  the  saints  to  marching  in  เพลงนี้เป็นเพลงที่เก่าแก่มาก  ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง 

เป็นเพลงแจ๊สที่มีชื่อเสียงมาก  ในการแสดงดนตรีแจ๊๊สทุกครั้งมักมีเพลงนี้เล่นด้วยเสมอ  ตอนแรกเป็นเพลงสวด ต่อมาเล่นแบบมาร์ชและในที่สุด

ก็เล่นแบบ New orleans

อาร์มสตรองเล่นเพลงนี้ได้ดีที่สุดเมื่อ  พ.ศ.  2481 เครื่องดนตรีแจ๊๊ส ที่นิยมเล่นกันมีดังนี้คือ

1คลาริเน็ท 2 แซ็กโซโฟน (โซปราโน,อัลโต,เทเนอร์)3คอร์เน็ต 4ทรัมเป็ต 5ทรอมโบน 6เบนโจ 7เปียโน 8 กีตาร์ 9 เบส 10กลองชุด

ปัจจุบันแจ๊๊สได้เล่นอย่างมีแบบแผน มีการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นมีการกำหนดแน่นอน

 ซึ่งใช้แบบของวงดนตรีปอปปูลามิวสิค

Blues Jazz เพลงบลูส

 

7.วงโยธวาทิต  (Military  Band)

ประกอบด้วยเครื่องเป่าครบทุกกลุ่ม คือ เครื่องลมไม้  เครื่องทองเหลืองและกลุ่มเครื่องกระทบ ได้แก่

เครื่องดนตรีที่ให้จังหวะทั้งหลาย วงโยธวาทิตมีมาตั้งแต่สมัยโรมันใช้บรรเลงเพลงเดินแถวเพื่อปลุกใจทหาร

ในสมัยสงครามครูเสด  ได้ซบเซาไปพักหนึ่ง และเจริญอีกในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14ต่อมาในสมัยของนโปเลียน 

ได้ปรับปรุงให้มีเครื่องดนตรีอีกหลายชนิดเช่น พวกขลุ่ยผิว พวกปี่และแตรและต่อมาก็เป็นต้นแบบของวงโยธวาทิต

ในราวกลางศตวรรษที่ 19 เมื่ออดอลฟ์แซกซ์  นักประดิษฐ์ชาวเบลเยี่ยมได้ประดิษฐ์แซกโซโฟนและแตรต่างๆ

ในตระกูลแซกฮอร์น จึงได้นำมาไว้กับวงโยธวาทิตด้วย 

จึงสมบูรณ์ดังได้กล่าวมาแล้ว  ปัจจุบันวงโยธวาทิตมาตรฐานของอังกฤษใช้เครื่องดนตรี  56  ชิ้น

วงโยธวาทิต (Military Band)

วงโยธวาทิต (Military Band)

 

 

 

วงโยธวาทิต (Military Band)

8.แตรวง  (Brass  Band)

คือวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองและเครื่องกระทบ แตรวงเหมาะสำหรับใช้บรรเลงกลางแจ้ง 

การแห่ต่างๆ เช่น ในประเทศไทยใช้แห่นาค  แห่เทียนพรรษา  เป็นต้นแตรวงมาตรฐานของอังกฤษใช้เครื่องดนตรี  26  ชิ้น

 

 

 

 

 

 

 

สถิติ คณิตศาสตร์

สถิติ (Statistic) หมายถึง
1. ตัวเลขแทนปริมาณจำนวนข้อมูล หรือข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ ที่คนโดยทั่วไปต้องการศึกษาหาความรู้ เช่นต้องการทราบปริมาณน้ำฝนที่ตกในกรุงเทพมหานครปี 2541 เป็นต้น
2. ค่าตัวเลขที่เกิดจากการคำนวณมาจากกลุ่มตัวอย่าง(Sample)  หรือคิดมาจากนิยามทางคณิตศาสตร์ เช่นคำนวณหาค่าเฉลี่ย  ค่าความแปรปรวน ค่าที่คำนวณได้เรียกว่าค่าสถิติ ( A Statistic) ส่วนค่าสถิติทั้งหลายเรียกว่า ค่าสถิติหลาย ๆ ค่า (Statistics)
3. วิชาการแขนงหนึ่งที่จัดเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และเป็นทั้งวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และยังหมายรวมถึงระเบียบวิธีการสถิติอันประกอบไปด้วยขั้นตอน 4 ขั้นตอนที่ใช้ในการศึกษาได้แก่

  • การเก็บรวบรวมข้อมูล(Collection of Data)
  • การนำเสนอข้อมูล(Presentation of Data)
  • การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data)
  • การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data)

ข้อมูล(Data) หมายถึง  รายละเอียดข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมซึ่งตรงกับสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา

ประเภทของวิชาสถิติ แบ่งประเภทตามลักษณะของข้อมูลได้เป็นสองประเภทคือ

  • สถิติเชิงอนุมาน(Inductive Statistics)  หมายถึง สถิติที่ใช้จัดกระทำกับข้อมูลที่ได้มาเพียงบางส่วนของข้อมูลทั้งหมด
  • สถิติเชิงบรรยาย(Descriptive Statistics) หมายถึง สถิติที่ใช้จัดกระทำกับข้อมูลที่ได้มาเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

การนำเสนอข้อมูล  หมายถึง  การจัดระบบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ เป็นประเภทตามลักษณะของการวิจัย  เพื่อความชัดเจนในการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายของข้อมูล

การแจกแจงความถี่ (Frequency distribution table) จำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  • แจกแจงข้อมูลเป็นตัว ๆ ไป ใช้กับข้อมูลดิบที่มีจำนวนไม่มากนัก
  • แจกแจงข้อมูลเป็นช่วงคะแนน (อันตรภาคชั้น) เช่น
  • Image
  • หลักการสร้างตารางแจกแจงความถี่
    1. พิจารณาจำนวนข้อมูลดิบทั้งหมดว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด
    2. หาค่าสูงสุดหรือต่ำสุดของข้อมูลดิบที่มีอยู่
    3. หาค่าพิสัยของข้อมูลนั้นจากสูตร

           พิสัย  =   ค่าสูงสุด  –  ค่าต่ำสุด

    4. พิจารณาว่าจะแบ่งเป็นกี่ชั้น(นิยม 5 – 15  ชั้น)
    5. หาความกว้างของแต่ละอันตรภาคชั้น จากสูตร (นิยมปรับค่าให้เป็น 5 หรือ 10 )

          ความกว้างของอันตรภาคชั้น =       พิสัย/จำนวนชั้น (/ = การหาร หรือ ส่วน)

     

    6. ควรเลือกค่าที่น้อยที่สุด หรือค่าที่มากที่สุดของอันตรภาคชั้นให้เป็นค่าที่สังเกตได้ง่ายๆ

    ฮิสโตแกรม (Histogram) หรือแท่งความถี่ คือ  การแจกแจงความถี่ข้อมูลโดยใช้กราฟแท่ง เพื่อให้เกิดความเป็นรูปธรรมของข้อมูลมากยิ่งขึ้นและง่ายต่อการวิเคราะห์ หรือตีความหมายข้อมูล

    ค่ากลางของข้อมูล มีทั้งหมด 6 ชนิด

    • ค่าเฉลี่ยเลขคณิตหรือตัวกลางเลขคณิต(arithmetic  mean)
    • มัธยฐาน(median)
    • ฐานนิยม(mode)
    • ตัวกลางเรขาคณิต(geometric mean)
    • ตัวกลางฮาโมนิค (harmonic mean)
    • ตัวกึ่งกลางพิสัย(mid-range)

    ค่าเฉลี่ยเลขคณิตหรือตัวกลางเลขคณิต (arithmetic mean)
    หลักในการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต

    • นำข้อมูลทั้งหมดมารวมกัน
    • นำผลรวมที่ได้จากข้อ 1 มาหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด
    • ผลหารที่ได้ในข้อ 2 คือ ค่าเฉลี่ย

    มัธยฐาน (median)  คือ ค่ากลางของข้อมูลที่อยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมดหลังจากเรียงลำดับข้อมูลจากน้อยไปมากหรอจากมากไปน้อย
    ตัวอย่าง  จงหาค่ามัธยฐานของข้อมูล   3 , 7 19, 25, 12, 18 , 10

    วิธีทำ  เรียงข้อมูลจากน้อยไปมากได้   3 , 7, 10, 12, 18, 19, 25 ข้อมูลมีทั้งหมด 7 ตัวเรียงข้อมูลแล้วตัวเลขที่อยู่ตรงกลางคือตัวเลขตำแหน่งที่ 4  ตัวเลขตำแหน่งที่ 4 คือ 12 เป็นมัธยฐาน

    ฐานนิยม (mode) คือ ค่ากลางของข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดในชุดข้อมูลนั้น
    ตัวอย่าง  จงหาฐานนิยมของข้อมูลชุดนี้  3, 2, 5, 3, 3, 3, 3, 3, 3, 3, 5

    วิธีทำ   ข้อมูลมี 2 จำนวน 1 ค่า    มี 3 จำนวน 8  ค่า มี 5 จำนวน 2 ค่า ฉะนั้นฐานนิยมของข้อมูลคือ 3

โครงการฝนหลวง

โครงการฝนหลวง

ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง 
…แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้
ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้…

ImageImage

 

   โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ
ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหา
ขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง
ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ 
จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร 
ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ
จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่า
จะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาล
ตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ 
ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี

       ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว
ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน 
จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้งๆ 
ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ 
ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า 
ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทย
ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย 
โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปี
ของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน

ตามที่ทรงเล่าไว้ใน RAINMAKING STORY จาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา
ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา
และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน
และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่
ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม
ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้นในปีถัดมา และทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการ
ในท้องฟ้าให้เป็นไปได้

การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก จนถึงปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน
ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล
พระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกัน
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก
เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ
และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง
(dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว
เข้าไปในยอดเมฆสูง ไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่
ู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้นทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้น
มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน
เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่
ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา
ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผล
โดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า
เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า
การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

ลักษณะของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Image

          ๑) โครงการที่มีลักษณะศึกษา ค้นคว้า ทดลองเป็นการส่วนพระองค์ โครงการดังกล่าวนี้
เท่ากับเป็นการเตรียมพระองค์ในด้านข้อมูล และความรอบรู้ที่จะทรงนำไปประยุกต์
ใช้ในการแก้ปัญหาและเผยแพร่แก่เกษตรกร รวมทั้งเป็นการแสวงหา
แนวทางการพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย
และสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นด้วย และการศึกษาค้นคว้ทดลอง

         ๒) โครงการที่มีลักษณะเริ่มเข้าไปแก้ไขปัญหาหลักของเกษตรกร
เนื่องจากเกษตรกรประสบปัญหาและอุปสรรคในการทำเกษตรกรรมมากขึ้น 
ซึ่งในขณะที่พระองค์ทรงมีโครงการทดลองและเรียนรู้ไปด้วยกัน จะทรง
เริ่มก้าวเข้าสู่ การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรกรอย่างแท้จริง
ระยะแรกโครงการ ยังจำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะบริเวณรอบๆ 
ที่ประทับในส่วนภูมิภาครูปแบบของการพัฒนาแก้ปัญหา 
คือ การพัฒนาแบบผสมผสาน (Integrated Development) 
หลังจากนั้นโครงการในลักษณะนี้ค่อยๆ ขยายขอบเขตออกไปสู่
สังคมเกษตรกรในพื้นที่ที่กว้างขึ้น

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีอยู่มากมายหลายสาขาหลายประเภทมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ดังนี้คือ

 – โครงการตามพระราชประสงค์ 
หมายถึง โครงการซึ่งทรงศึกษาทดลองปฏิบัติเป็นส่วนพระองค์ ทรงศึกษาหารือ กับผู้เชี่ยวชาญในงาน ทรงแสวงหาวิธีทดลองปฏิบัติ ทรงพัฒนาส่งเสริมแก้ไขดัดแปลง วิธีการระยะเวลาหนึ่ง เพื่อดูแลผลผลิตทั้งในพระราชฐานและนอกพระราชฐาน ซึ่งต้องทรงใช้พระราชทรัพย์
์ส่วนพระองค์ในการดำเนินงาน ทดลองจนกว่าจะเกิดผลดี ต่อมาเมื่อทรงแน่พระราชหฤทัย
ว่าโครงการนั้น ๆ ได้ผลดี เป็นประโยชน์แก่ประชาชน อย่างแท้จริง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้รัฐบาลเข้ามารับงานต่อในภายหลัง

        – โครงการหลวง พระองค์ทรงเจาะจงดำเนินการพัฒนา และบำรุงรักษาต้นน้ำลำธาร
ในบริเวณป่าเขา ในภาคเหนือ เพื่อบรรเทาอุทกภัยในที่ลุ่มข้างล่าง ด้วยเหตุที่พื้นที่เหล่านี้
เป็นเขตแดนชาวไทยภูเขา จึงทรงมีโอกาสพัฒนาชาวเขา ชาวดอย ให้อยู่ดี กินดี 
ให้เลิกการปลูกฝิ่น ด้วยเป็นการผิดกฏหมาย เลิกการตัดไม้ทำลายป่าทำไร่เลื่อนลอย 
และเลิก การค้าไม้เถื่อน ของเถื่อน อาวุธยุทโธปกรณ์นอกกฏหมาย ทรงพัฒนาช่วยเหลือ 
ให้ปลูก พืชหมุนเวียนที่มีคุณค่าสูง ขนส่งง่าย ปลูกข้าวไร่ และเลี้ยงสัตว์ไว้เพื่อบริโภค 
รวมคุณค่า ผลผลิต แล้วให้ได้คุ้มค่าแทนการปลูกฝิ่น ทั้ง ๆ ที่งานของโครงการนี้ 
จะกินเวลา ยาวนาน กว่าจะเกิดผล ก็เป็นเวลานานนับสิบปี การดำเนินงานจะยากลำบากสักเพียงใด ก็มิได้ ทรงท้อถอย การพัฒนาค่อย ๆ ได้ผลดีขึ้น ชาวเขา ชาวดอยจึงมีความจงรักภักดี
เรียกพระ องค์ว่า “พ่อหลวง” และเรียกสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถว่า
“แม่หลวง” โครงการของทั้งสองพระองค์ จึงเรียกว่า “โครงการหลวง”

– โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ 
หมายถึง โครงการที่พระองค์ได้พระราชทานข้อแนะนำ และแนวพระราชดำริให้เอกชน
ไปดำเนินการด้วยกำลังเงิน กำลังปัญญาและ กำลังแรงงาน พร้อมทั้ง การติดตามผลงาน
ให้ต่อเนื่องโดยภาคเอกชน เช่นโครงการพัฒนาหมู่บ้านสหกรณ์เนินดินแดง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งสโมสรโรตารีแห่งประเทศไทย เป็นผู้จัด และดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ  

– โครงการตามพระราชดำริ โครงการประเภทนี้

เป็นโครงการที่ทรงวางแผนพัฒนาทรงเสนอแนะให้รัฐบาล ร่วมดำเนินการตามพระราชดำริ 
โดยพระองค์เสด็จพระราชดำเนิน ร่วมทรงงานกับหน่วยงานของรัฐบาล ซึ่งมีทั้งฝ่ายพลเรือน ตำรวจ ทหาร โครงการตามพระราชดำรินี้ในปัจจุบัน เรียกว่า“โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” มีกระจายอยู่ทั่วทุก ภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะที่เป็นโครงการพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้ดำเนินการเสร็จสิ้นภายในระยะสั้น และระยะยาว ที่มีเวลามากกว่า 5 ปี ขณะเดียวกัน
ก็มีลักษณะที่เป็นงานด้านวิชาการ เช่น โครงการเพื่อการศึกษา ค้นคว้าทดลอง 
หรือ โครงการที่มีลักษณะเป็นงานวิจัย เป็นต้น

Image

ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เป็นขั้นเป็นตอนอย่างละเอียดก่อนทุกครั้งในการจัดวางแผนโครงการใดโครงการหนึ่ง ก่อนจะมีพระราชดำรินั้น ขั้นตอนต่าง ๆ พอจะกล่าวได้ดังต่อไปนี้

  1. การศึกษาข้อมูล
  2. การหาข้อมูลในพื้นที่
  3. การศึกษาข้อมูลและการจัดทำโครงการ
  4. การดำเนินงานตามโครงการ
  5. การติดตามผลงาน

    – การศึกษาข้อมูล 
    ก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินยังพื้นที่ใดๆ นั้น จะทรงศึกษาข้อมูลจากเอกสารและแผนที่ต่างๆ 
    ที่มีอยู่ เพื่อให้ทราบถึงสภาพในท้องถิ่นนั้นๆ อย่างละเอียดก่อนเสมอ

           – การหาข้อมูลในพื้นที่ 
    เมื่อเสด็จฯ ถึงพื้นที่นั้นๆ จะทรงหาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง 
    เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและข้อมูลล่าสุด อาทิเช่นทรงสอบถามประชาชน
    ถึงการประกอบอาชีพ สภาพหมู่บ้าน ภูมิประเทศ ดิน อากาศ และน้ำ ฯลฯ 
    ทรงสำรวจพื้นที่ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพื้นที่จริง
    ที่คาดว่าควรจะดำเนินการพัฒนาได้ทรงสอบถามเจ้าหน้าที่
    เมื่อทรงศึกษาจากข้อมูลเอกสารและทรงได้ข้อมูลจากพื้นที่จริงแล้ว 
    จะทรงปรึกษากับเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ถึงความเหมาะสม 
    พร้อมทั้งคำนวณวิเคราะห์ทันที ด้วยว่า เมื่อดำเนินการแล้ว
    จะได้ประโยชน์อย่างไร และคุ้มค่ากับการลงทุน หรือไม่เพียงใด 
    อย่างไรแล้ว จึงพระราชทานพระราชดำริให้เจ้าหน้าที่ที่
    เกี่ยวข้องไปพิจารณาในขั้นรายละเอียดตามขั้นตอนต่อไป

       – การศึกษาข้อมูลและการจัดทำโครงการ 
    เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องได้รับพระราชทานพระราชดำริแล้ว จะไปศึกษาข้อมูลรายละเอียดต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อประกอบการจัดทำโครงการให้เป็นไปตามแนวทางพระราชดำริที่ได้
    ้พระราชทานไว้ อย่างไรก็ตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริอยู่เสมอว่า 
    พระราชดำริของพระองค์เป็นเพียงข้อเสนอแนะเท่านั้น เมื่อรัฐบาลได้ทราบแล้ว 
    ควรไปพิจารณาวิเคราะห์กลั่นกรองตามหลักวิชาการก่อน เมื่อมีความเป็นไปได้
    และมีประโยชน์คุ้มค่า และเห็นควรทำ เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาตัดสินใจเอง
    และในกรณีที่วิเคราะห์พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เหมาะสมสามารถล้มเลิกได้

           – การดำเนินงานตามโครงการ 
    เมื่อจัดทำโครงการเสร็จเรียบร้อยและผ่านการพิจารณาจากหน่วยเหนือตามลำดับขั้นตอน 
    จนถึงการอนุมัติโครงการและงบประมาณแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการปฏิบัติงาน
    ในทันที โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก
    พระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานและประสานแผนต่างๆ ให้แต่ละหน่วยงานได้ดำเนินการสนับสนุนสอดคล้องกัน หรืออาจจัดตั้งองค์กรกลางที่ประกอบด้วยแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ควบคุมดูแลให้การดำเนินการต่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 
    มีประสิทธิภาพ   – การติดตามผลงาน 
    ในการติดตามผลงานการดำเนินงานนั้น แต่ละหน่วยงาน
    รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน
    โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะได้มีการติดตาม
    ประเมินผลเป็นระยะๆแต่ที่สำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    จะเสด็จฯกลับ ไปยังโครงการนั้นด้วยทุกครั้งเมื่อมีโอกาส 
    เพื่อทอดพระเนตรความก้าวหน้าและติดตามผลงานต่างๆ 
    ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในกรณีที่เกิดมีปัญหาอุปสรรคต่างๆ 
    จะทรงชี้แนะแนวทางการแก้ไขปัญหานั้น ให้สำเร็จลุล่วงได้                                                                                                                             ขอขอบคุณข้อมูลจาก… http://www.sci.nu.ac.th/websci/webwin/p/sukhothaiwittayakom/step.htm

ASEAN

Image

ASEAN : The Association of South East Asian Nations (อาเซียน)

       ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

   แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน

   โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

Image

1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 

          ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า “เนการาบรูไนดารุสซาลาม” มีเมือง “บันดาร์เสรีเบกาวัน”เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ

Image

2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

          เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

Image

3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

          เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ

Image

4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People’s Democratic Republic of Lao PDR)

          เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 

Image

5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

          เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ

Image

6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

          เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ

Image

7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)

          เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)

Image

8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

          เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ

Image

9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

          เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 

Image

10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

          มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ 

Image

ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม” (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้

1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020

ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน

กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)

Image

3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน

ขอขอบคุณแหล่งที่มา…  http://hilight.kapook.com/view/67028

 

 

พลังงานทดแทน

พลังงานลม

Image

           พลังงานลม เป็นพลังงานตามธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ ความกดดันของบรรยากาศและแรงจากการหมุนของโลก สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเร็วลมและกำลังลม เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าลมเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่มีอยู่ในตัวเอง ซึ่งในบางครั้งแรงที่เกิดจากลมอาจทำให้บ้านเรือนที่อยู่อาศัยพังทลายต้นไม้ หักโค่นลง สิ่งของวัตถุต่าง ๆ ล้มหรือปลิวลอยไปตามลม ฯลฯ ในปัจจุบันมนุษย์จึงได้ให้ความสำคัญและนำพลังงานจากลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อหา เป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น พลังงานลมก็เหมือนกับพลังงานแสงอาทิตย์คือไม่ต้องซื้อ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเอาพลังงานลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น พื้นที่ยังมีปัญหาในการวิจัยพัฒนานำเอาพลังงานลมมาใช้งานเนื่องจากปริมาณของลมไม่สม่ำเสมอตลอดปี แต่ก็ยังคงมีพื้นที่บางพื้นที่สามารถนำเอาพลังงานลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลเป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยในการเปลี่ยนจากพลังงานลมออกมาเป็นพลังงานในรูปอื่น ๆ เช่น ใชั กังหันลม ( windturbine) เพื่อเปลี่ยนให้เป็น พลังงานไฟฟ้า, กังหันโรงสี (หรือ windmill) เพื่อเปลี่ยนให้เป็น พลังงานกล คือเมื่อต่อเข้ากับระหัดวิดน้ำเพื่อระบายน้ำหรือต่อเข้ากับจักรกลก็สามารถใช้สีข้าวหรือนวดแป้งได้, กังหันสูบน้ำ (หรือ windpump, sails หรือใบเรือ เพื่อขับเคลื่อนเรือ เป็นต้น
      windfarm จะประกอบด้วยกังหันลมเป็นจำนวนมาก และต่อเข้ากับสายส่งกลางเพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับผู้ผลิตไฟฟ้าหลัก (ในไทยคือ กฟผ) ลมในทะเลจะมีความแรงและแน่นอนกว่าลมบนบก แต่การสร้างในทะเลถึงจะไม่ทำให้รกหูรกตามากนักแต่ค่าใช้จ่ายและการบำรุงรักษาจะแพงกว่าการสร้างบนบกมากเลยทีเดียว แต่ก็ไม่แพงไปกว่าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วไป
พลังงานลมถูกนำมาใช้เป็นพลังงานทางเลือกเพื่อมาแทนทีพลังงานฟอสซิล มีปริมาณมาก มีอยู่ทั่วไป สะอาด หมุนเวียนได้ และมีผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมน้อยมาก พลังงานลมมีความสม่ำเสมอในแต่ละปี อาจมีบางช่วงที่ขาดหายไปบ้างแต่ก็จะไม่สร้างปัญหาในการผลิตไฟฟ้าถ้าออกแบบให้มีประสิทธิภาพเพียง 20% ของปริมาณความต้องการไฟฟ้าทั้งหมด การติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิดจะสามารถลดปัญหาลงได้

Image

พลังงานลมในปัจจุบัน
2 ทศวรรษแห่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก่อให้เกิดกังหันลมที่ทันสมัยที่มีอุปกรณ์ทำงานร่วมกันได้และติดตั้งได้รวดเร็ว ในปัจจุบัน กังหันลมสมัยใหม่เพียงตัวเดียวมีพลังมากกว่ากังหันลมขนาดเท่ากันเมื่อ 2 ทศวรรษที่แล้ว 100 เท่า และปัจจุบันฟาร์มกังหันลมให้พลังงานมากเท่ากับโรงไฟฟ้าทั่วไป
ปี 2012 ประเทศจีนเป็นผู้นำในการติดตั้งพลังงานลม โดยมีการติดตั้งไปแล้ว 75,564 MW ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา 60,007 MW และเยอรมนี 31,332 MW รวมทั้งโลก 282,482 MW[1]
ในขณะที่ตลาดพลังงานลมเติบโต พลังงานลมมีค่าใช้จ่ายในการผลิตลดลง 50% ใน 15 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันกังหันลมในสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดสามารถแข่งขันกับโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน และในบางสถานที่สามารถเป็นคู่แข่งกับก๊าซได้
พลังงานลมภายในพ.ศ. 2563
เนื่องจากพลังงานลมที่ติดตั้งแล้วมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 30% ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นไปได้อย่างแท้จริงที่จะตั้งเป้าหมายให้ลมผลิตพลังงาน 12% ของพลังงานทั้งโลก ภายในพ.ศ. 2563 ในช่วงที่พลังงานลมผลิตพลังงาน จะสร้างงานให้คน 2 ล้านคน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 10,700 ล้านตัน
ขนาดและกำลังการผลิตของกังหันลมโดยทั่วไปที่ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องทำให้ภายในพ.ศ. 2563 ราคาของพลังงานลมที่ตั้งอยู่ในสถานที่เหมาะสมคาดว่าจะตกลงไปอยู่ที่ 86 สตางค์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งน้อยกว่า 1.33 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ในพ.ศ. 2546 หรือลดลง 36% ค่าใช้จ่ายนี้ไม่รวมการเชื่อมต่อกับสายส่งไฟฟ้า แต่มันเป็นปัจจัยหนึ่งสำหรับสถานีพลังงานเกือบทุกชนิด ไม่ใช่เพียงพลังงานลม
พลังงานลมหลังพ.ศ. 2563
ทรัพยากรพลังงานลมของโลกมีจำนวนมากมายมหาศาลและกระจายไปเกือบทุกภูมิภาคและประเทศต่าง ๆ การใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้พลังงานลมสามารถผลิตพลังงานได้ประมาณ 53,000 เทราวัตต์ชั่วโมง (TWh) ต่อปี ซึ่งมากกว่าความต้องการพลังงานของโลกที่คาดการณ์ไว้ในพ.ศ. 2563 มากกว่า 2 เท่า ทำให้อุตสาหกรรมพลังงานลมมีโอกาสเติบโตสูงแม้ในหลายทศวรรษจากปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวมีศักยภาพการผลิตพลังงานลมเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานในประเทศได้มากกว่า 3 เท่า
ข้อดีของพลังงานลม
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยลดระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน นี่เป็นประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดของการผลิตพลังงานลม นอกจากนี้พลังงานลมยังปราศจากสารก่อมลพิษอื่น ๆ ที่เกิดจากเชื้อเพลิงฟอสซิลและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกด้วย
มีความสมดุลด้านพลังงานที่ดีเยี่ยม การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่เกิดจากการผลิต ติดตั้ง และให้บริการของกังหันลมที่มีช่วงอายุโดยเฉลี่ย 20 ปีถูก “ทดแทน” หลังดำเนินการผลิต 3-6 เดือน ซึ่งเท่ากับการผลิตพลังงานมากกว่า 19 ปีโดยแทบไม่มีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมเลย
ดำเนินงานได้รวดเร็ว ฟาร์มกังหันลมสามารถสร้างเสร็จสิ้นภายในไม่กี่สัปดาห์ โดยใช้รถเครนติดตั้งหอคอยของกังหันลม ส่วนเชื่อมต่อกับปีกหมุน (โครงยึด) และ ใบพัดเหนือฐานคอนกรีตเสริมกำลัง ด้วยเงินลงทุนที่เท่ากัน พลังงานลมสร้างงานมากกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 5 เท่า และผลิตพลังงานได้มากกว่า 2.3 เท่า
เป็นแหล่งพลังงานที่น่าเชื่อถือและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากลมที่ใช้ขับเคลื่อนกังหันลมไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดกาล และไม่ถูกกระทบโดยราคาของเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ขึ้น ๆ ลง ๆ นอกจากนี้ยังไม่ต้องอาศัยการทำเหมือง ขุดเจาะ หรือ ขนส่งไปยังสถานีจ่ายไฟฟ้า ในขณะที่ราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลสูงขึ้น คุณค่าของพลังงานลมก็สูงขึ้นเช่นกัน ทำให้ค่าใช้จ่ายของการผลิตไฟฟ้าโดยพลังงานลมมีแต่จะลดลง
นอกจากนี้ในโครงการใหญ่ ๆ ที่ใช้กังหันลมขนาดกลางที่ได้รับการทดสอบประสิทธิภาพ จะมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน 98% อย่างสม่ำเสมอโดยอาศัยลม ซึ่งหมายถึงต้องซ่อมแซมเป็นระยะเวลาเพียง 2% ซึ่งเป็นประสิทธิภาพการทำงานที่สูงกว่าประสิทธิภาพที่คาดหวังได้จากโรงไฟฟ้าทั่วไปอย่างมาก
ความไม่แน่นอนของพลังงานลม
ความไม่แน่นอนของพลังงานลมสร้างปัญหาน้อยกว่าระบบการจัดการสายส่งไฟฟ้า (grid) ความต้องการพลังงานที่ขึ้นลงไม่แน่นอนและความผิดพลาดจากโรงไฟฟ้าทั่วไปที่จำเป็นต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นทำให้ต้องอาศัยระบบสายส่งไฟฟ้าที่ยืดหยุ่นมากกว่าพลังงานลม และประสบการณ์จริงแสดงให้เห็นว่าระบบไฟฟ้าในประเทศสามารถส่งไฟฟ้าจากพลังงานลมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ในคืนวันลมแรง กังหันลมผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 50% แต่งานที่มากเช่นนั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจัดการได้
นอกจากนี้ การสร้างสายส่งไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงยังลดปัญหาความไม่แน่นอนของลม โดยทำให้พลังไฟฟ้าจากความเร็วลมที่เปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ พื้นที่เกิดความสมดุลซึ่งกันและกัน
มุ่งไปข้างหน้า
แม้ว่าพลังงานลมจะเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ไม่สามารถรับรองได้ว่าพลังงานลมจะมีอนาคตที่สดใส แม้ว่าปัจจุบันมีการผลิตพลังงานลมแล้วใน 50 ประเทศ แต่ความก้าวหน้าของพลังงานลมจนถึงปัจจุบันเกิดขึ้นจากความพยายามของไม่กี่ประเทศ โดยผู้นำ คือ เยอรมนี สเปน และ เดนมาร์ก ประเทศอื่น ๆ จำเป็นต้องปรับปรุงอุตสาหกรรมพลังงานลมอย่างมากหากต้องการบรรลุเป้าหมายทั่วโลก ด้วยเหตุนี้การคาดการณ์ว่าจะมีการใช้พลังงานลม 12% ของพลังงานโลกภายในพ.ศ. 2563 จึงเป็นเรื่องไม่แน่นอน แต่เป็นเป้าหมาย นั่นคือ เป็นอนาคตที่เป็นไปได้ที่เราสามารถเลือกถ้าเราเต็มใจ
เทคโนโลยีกังหันลม
ดูบทความหลักที่ กังหันลม
กังหันลม คือ เครื่องจักรกลอย่างหนึ่งที่สามารถรับพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลมให้ เป็นพลังงานกลได้ จากนั้นนำพลังงานกลมาใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น การบดสีเมล็ดพืช การสูบน้ำ หรือในปัจจุบันใช้ผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า การพัฒนากังหันลมเพื่อใช้ประโยชน์มีมาตั้งแต่ชนชาวอียิปต์โบราณและมีความต่อ เนื่องถึงปัจจุบัน โดยการออกแบบกังหันลมจะต้องอาศัยความรู้ทางด้านพลศาสตร์ของลมและหลัก วิศวกรรมศาสตร์ในแขนงต่าง ๆ เพื่อให้ได้กำลังงาน พลังงาน และประสิทธิภาพสูงสุด
พลังงานลมในประเทศไทย
จากการศึกษาแผนที่ศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทย ซึ่งจัดทำโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานพบว่าประเทศไทยมีศักยภาพด้านพลังงานลมบ้างแต่ค่อนข้างน้อย แม้ว่าพลังงานลมเป็นพลังงานค่อนข้างสะอาด แต่พลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ยังคงพึ่งไม่ได้ ยกเว้นในพื้นที่ที่มีลมพัดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เนื่องจากการที่ความเร็วของกังหันมีความจำเป็นต้องมีไฟฟ้าควบคุมตลอดเวลา คุณค่าของลมสำหรับระบบไฟฟ้าจึงต่ำ และในหลายๆ กรณีจำเป็นต้องมีกำลังไฟฟ้าสำรองเผื่อไว้ในกรณีที่ไม่มีลม
สำหรับการใช้พลังงานลมในประเทศไทย ในการติดตั้งกังหันลมหรือกำลังลมเฉลี่ยทั้งปีควรไม่น้อยกว่าระดับ 3 (Class3) คือ 6.4-7.0 เมตร/วินาที หรือ 300-400 กิโลวัตต์/ตารางเมตร ที่ความสูง 50 เมตร เพื่อสามารถพัฒนากังหันลมผลิตไฟฟ้าได้ จากการสำรวจแหล่งที่มีความเร็วลมดังกล่าวอยู่ที่ภาคใต้บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เริ่มตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี และที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเกิดจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงปลายเดือนมีนาคม เป็นต้น
แต่การติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าจะต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ ด้วย นอกเหนือจากความเร็วของลม เช่น ลักษณะภูมิประเทศควรเป็นที่ราบโล่งไม่มีสิ่งกีดขวาง และมีความเร็วลมโดยสม่ำเสมอ เป็นต้น เมื่อคำนึงถึงความไม่สม่ำเสมอของไฟฟ้าจากพลังงานลมแล้ว การลงทุนในกังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทยในขณะนี้ จึงไม่มีความคุ้มทุนทางการเงิน การลงทุนจะเกิดขึ้นได้เฉพาะกรณีที่รัฐให้การสนับสนุนเป็นพิเศษด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม
สำหรับรัฐบาลโดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และกฟผ.ได้เผยแพร่ข้อมูลเรื่องพลังงานลมให้ประชาชนรับทราบ และนับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา กฟผ. ได้ออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนยื่นข้อเสนอในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม และขายไฟฟ้าและเข้าระบบให้แก่การไฟฟ้า ในรูปของการผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือ SPP โดยมีเงินสนับสนุนให้ ปัจจุบันโซลาร์ฟาร์มที่ใหญ่ที่สุด อยู่ที่ ต. ห้วยบง อ. ด่านขุนทด จ. นครราชสีมา
ขณะที่ กฟผ. มีความเห็นว่าปัญหาเรื่องเทคนิคและการลงทุนไม่ใช่ประเด็นปัญหาที่สำคัญสุด แต่ปัญหาอยู่ที่ศักยภาพของลมมากกว่า ทั้งนี้ กฟผ. มีโครงการสาธิตการใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้า ขนาด 192 กิโลวัตต์ ตั้งอยู่ที่แหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งจัดว่ามีลมแรงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ก็ยังมีความเร็วลมเฉลี่ย 5 เมตรต่อวินาที และไม่มีความสม่ำเสมอ ซึ่งแนวทางการพัฒนาในอนาคต จะเป็นการศึกษาเพื่อนำมาใช้ร่วมกับวิธีการผลิตไฟฟ้ารูปแบบอื่น เพื่อให้เกิดความมั่งคงเพิ่มขึ้น
ดังนั้น การที่กล่าวว่าประเทศไทยมีพลังงานอย่างเหลือเฟือ จึงเป็นความเข้าใจที่ผิด และหากจะพิจารณาในการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในประเทศไทย หลายฝ่ายยังมีความเห็นว่า มีความเป็นไปได้น้อยกว่าทางเลือกอื่นๆ เช่น พลังงานชีวมวล พลังน้ำขนาดเล็ก และพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ซึ่ง กฟผ. ก็พยายามนำพลังงานทางเลือกเหล่านี้ มาใช้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้ใช้ไฟฟ้ามากกเกินไป แม่ว่าจะมีปัญหาในเรื่องของต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าการใช้ก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหินก็ตาม
กังหันลมกับการผลิตไฟฟ้า
หลักการทำงานของกังหันลมผลิตไฟฟ้านั้น เมื่อมีลมพัดผ่านใบกังหัน พลังงานจลน์ที่เกิดจากลมจะ ทำให้ใบพัดของกังหันเกิดการหมุน และได้เป็นพลังงานกลออกมา พลังงานกลจากแกนหมุนของกังหันลมจะถูกเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่กับแกนหมุนของกังหันลม จ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านระบบควบคุมไฟฟ้า และจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบต่อไป โดยปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของลม ความยาวของใบพัด และสถานที่ติดตั้งกังหันลม
กังหันลมกับการใช้งาน
เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอของความเร็วลมที่แปรผันตามธรรมชาติ และความต้องการพลังงานที่สม่ำเสมอเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแล้ว จะต้องมีตัวกักเก็บพลังงานและใช้แหล่งพลังงานอื่นที่เชื่อถือได้เป็นแหล่งสำรอง หรือใช้ร่วมกับแหล่งพลังงานอื่น
ก. ตัวกักเก็บพลังงานมีอยู่หลายชนิด ส่วนมากขึ้นอยู่กับงานที่จะใช้ เช่น ถ้าเป็นกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมักนิยมใช้แบตเตอรี่เป็นตัวกักเก็บ
ข. การใช้แหล่งพลังงานอื่นที่เป็นตัวหมุน ระบบนี้ปกติกังหันลมจะทำหน้าที่จ่าย พลังงานให้ตลอดเวลาที่มีความเร็วลมเพียงพอ หากความเร็วลมต่ำหรือลมสงบ แหล่ง พลังงานชนิดอื่นจะทำหน้าที่จ่ายพลังงานทดแทน (ระบบนี้กังหันลมจ่ายพลังงานเป็นตัวหลักและแหล่ง พลังงานส่วนอื่นเป็นแหล่งสำรอง)
ค. การใช้ร่วมกับแหล่งพลังงานอื่น อาจเป็นเครื่องจักรดีเซล หรือพลังงานน้ำจากเขื่อน ฯลฯ ระบบนี้ปกติมีแหล่งพลังงานชนิดอื่นจ่ายพลังงานอยู่ก่อนแล้ว กังหันลมจะช่วยจ่ายพลังงานเมื่อมีความเร็วลมเพียงพอ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ลดการจ่ายพลังงานจากแหล่งพลังงานอื่น เช่น ลดการใช้น้ำมันดีเซลของเครื่องยนต์ดีเซล (ระบบนี้ แหล่งพลังงานอื่นจ่ายพลังงานเป็น หลัก ส่วนกังหันลมทำหน้าที่คอยเสริมพลังงานจากต้นพลังงานหลัก)

แผนที่ศักยภาพ พลังงานลมในประเทศไทย แผนที่ความเร็วลมที่ความสูง 90 เมตร (ปรับปรุง ก.ย.53)

การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม

การนำลมมาใช้ประโยชน์จะต้องอาศัยเครื่องจักรกลสำคัญ คือ “กังหันลม” ในการเปลี่ยนพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลม เป็นพลังงานกลก่อนนำไปใช้ประโยชน์ ที่สำคัญพลังงานลมใช้ไม่มีวันหมด และกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากลมยังไม่ปล่อยของเสียที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม รายละเอียด อ่านบทความนี้

Image 

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา… http://th.wikipedia.org/wiki/

                                   http://www3.egat.co.th/re/egat_wind/wind_technology.htm

แผนที่ทางภูมิศาสตร์ (อเมริกา)

ที่ตั้ง อาณาเขต และลักษณะภูมิประเทศของอเมริกาเหนือ

Image

ที่ตั้ง
ทวีปอเมริกาเหนือตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือทั้งหมด อยู่ระหว่างละติจูด 7 องศา 15 ลิปดาเหนือถึง ละติจูด 83 องศา 38 ลิปดาเหนือและระหว่างลองจิจูด 55 องศา 42 ลิปดาตะวันตก ถึง ลองจิจูด 172 องศา 30 ลิปดาตะวันออก ขนาด ทวีปอเมริกาเหนือมีพื้นที่ประมาณ 22,063,997 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ บริเวณที่กว้างที่สุดของทวีป คือ ตั้งแต่ช่องแคบเบริ่งถึงเกาะนิวฟันด์แลนด์ ส่วนบริเวณที่ยาวที่สุดของทวีป คือ ตั้งแต่คาบสมุทรบูเทียถึงคอคอดปานามา ซึงเป็นส่วนที่แคบที่สุดของทวีป คือ กว้างประมาณ 74 กิโลเมตร ทวีปอเมริกาเหนือ มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมหัวกลับ คือ มีฐานกว่างอยู่ทางด้านเหนือของปลายแหลมอยู่ทางตอนใต้ 
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก ทะเลโบฟอร์ต อ่าวแบฟฟิน อ่าวฮัดสัน ช่องแคบเดวิส ทะเลแลบราดอร์ เกาะขนาดใหญ่ได้แก่ เกาะกรีนแลนด์ เกาะแบฟฟิน เกาะวิกตอเรีย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะสำคัญด้านนี้ ได้แก่ เกาะนิวฟันด์แลนด์ เกาะเบอร์มิวดา หมู่เกาะบาฮามาส
ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนเหนือมีช่องแคบเบริง กั้นระหว่างทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาเหนือ น่านน้ำสำคัญได้แก่ อ่าวแคลิฟอร์เนีย อ่าวอะแลสกา เกาะใหญ่ได้แก่ เกาะแวนคูเวอร์ หมู่เกาะอาลิวเชียน หมู่เกาะควีนชาร์ล็อต 
ทิศใต้ ติดต่อกับทวีปอเมริกาใต้ น่านน้ำสำคัญคือมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโกในมหาสมุทรแอตแลนติก เกาะสำคัญคือ หมู่เกาะอินดิสตะวันตก หมู่เกาะคิวบา ฮิสแปนิโอลา จาเมกา เปอร์โตริโก
 
เมื่อพิจารณาถึงสภาพที่ตั้งและวัฒนธรรมแล้วทวีปอเมริกาเหนือแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยใช้แม่น้ำริโอแกรนด์ กั้นเขตแดนทางตอนเหนือของแม่น้ำเรียกว่า “แองโกลอเมริกา” ทางตอนใต้แม่น้ำเรียกว่า “ ลาตินอเมริกา” 
“แองโกลอเมริกา” หมายถึง ประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาซึ่งเป็นดินแดนที่รับวัฒนธรรมจากยุโรปเหนือ
“ลาตินอเมริกา” หมายถึงดินแดนตั้งแต่ใต้แม่น้ำริโอแกรนด์ ลงมาที่รับวัฒนธรรมจากยุโรปใต้
 
Image
 

ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือแบ่งออกเป็น 4 เขต ดังนี้
1. เขตเทือกเขาสูงทางตะวันตก
2. เขตที่ราบภาคกลาง
3. เขตหินเก่าแคนาดา
4. เขตเทือกเขาหินเก่าภาคตะวันออก

1. เขตเทือกเขาสูงทางตะวันตก เกิดจากการโก่งตัวของหินเปลือกโลกที่มีอายุน้อย เป็นแนวเทือกเขาสลับซับซ้อนจากเหนือสุดบริเวณช่องแคบเบริ่งต่อเนื่องถึงแนวเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้ ประกอบด้วยแนวเทือกเขาชายฝั่ง ได้แก่ เทือกเขาอลาสกา ซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อ “แมกคินเล่ย์ มีความสูงถึง 6,190 เมตร เทือกเขาโคสท์เรนจ์ เทือกเขาแคสเคต เทือกเขาเซียร์ราเนวาดา เทือกเขาเซียร์รามาเดรตะวันตก และแนวเทือกเขาตอนใน ได้แก่ เทือกเขายูคอน เทือกเขารอกกี และเทือกเขาเซียร์รามาเดรตะวันออกในเม็กซิโก ระหว่างแนวเทือกเขาชายฝั่งและเทือกเขารอกกี ซึ่งเป็นแนวเทือกเขาภายใน มีที่ราบสูงคั่นอยู่หลายแห่ง เริ่มจากเหนือลงมาใต้ ได้แก่ ที่ราบสูงยูคอน ที่ราบสูงบริติชโคลัมเบีย ที่ราบสูงโคลัมเบียสเนค ที่ราบสูงโคโลราโดและที่ราบสูงเม็กซิโก บริเวณที่ราบสูงโคโลราโด มีลักษณะภูมิประเทศเป็นโกรกธารหุบเหวลึกและมีหน้าผาสูงชันมาก ซึ่งเกิดจากการไหลกัดเซาะของ แม่น้ำโคโลราโด ทำให้เกิดเป็นภูมิประเทศที่สวยงาม บริเวณที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ “แกรนแคนยอน” ในรัฐอริโซนาบริเวณเทือกเขาและที่ราบสูงนี้ ส่วนใหญ่รัฐบาลสงวนไว้ให้เป็นวนอุทยานเพื่อการพักผ่อนและยังเป็นการรักษาต้นน้ำลำธารเอาไว้อีกด้วย วนอุทยานที่มีชื่อเสียงมากมากคือ เยลโลสโตน มีพื้นที่กว้างถึง 5.5 ล้านไร่ มีน้ำพุร้อนที่พุ่งสูงมากที่เรียกว่า “กีเซอร์” มีจำนวนมากถึง 120 แห่ง

Image                                         Image                                      Image

 

   ยอดเขาแมกคินลีย์                                            ยอดเขาร็อกกี้ถูกปกคลิมด้วยหิมะ                                                   แกรนแคนยอน

2. เขตที่ราบภาคกลาง เป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีอาณาเขตตั้งแต่มหาสมุทรอาร์กติก ทางตอนเหนือลงมาจนถึงอ่าวเม็กซิโกทางตอนใต้และอยู่ระหว่างเทือกเขารอกกี กับ เทือกเขาอัปปาเลเชียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 เขตดังนี้
2.1 ที่ราบลุ่มแม่น้ำแมกเคนซี อยู่ทางตอนเหนือสุด ระหว่างเขตหินเก่าแคนาดา กับเทือกเขารอกกี เป็นที่ราบแคบ ๆ ซึ่งมีอากาศหนาวเย็น จึงเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่น้อย แม่น้ำแมกเคนซีไหลลงสู่มหาสมุทรอาร์กติกบริเวณทะเลโบฟอร์ต
2.2 เขตที่ราบทุ่งหญ้าแพรรีแคนาดา เป็นที่ราบใหญ่อยู่ทางตอนกลางติดพรมแดนสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้แก่มณฑล ซาสแกตเชวัน อัลเบอร์ตา และมานิโทบาเป็นแหล่งปลูกข้าวสาลีที่สำคัญของแคนาดา
2.3 เขตที่ราบรอบทะเลสาบเกรตเพลนส์และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ ประกอบด้วยทะสาบน้ำจืด 5 แห่งได้แก่ สุพีเรียมิชิแกน ฮูรอน อีรี และออนแตริโอโดยทะเลสาบทั้ง 5 นี้มีคลองเชื่อมติดต่อกันหมดน้ำในทะเลสาบนี้ไหลลงสู่แม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเนื่องจากระดับน้ำในทะเลสาบทั้ง 5 มีความต่างระดับกันจึงทำให้เกิดน้ำตก เช่น น้ำตกในแอการา ซึ่งอยู่ระหว่างทะเลสาบอีรีและออนแตริโอเป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งของโลก
2.4 ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี อยู่ทางตอนใต้ของทะเลสาบเกรตเลกส์จนถึงอ่าวเม็กซิโก แม่น้ำมิสซิสซิปปีมีสาขามากมาย เช่น แม่น้ำมิสซูรี โอไฮโอ เทนเนสซี อาร์คันซอและแม่น้ำแดง แม่น้ำมิสซิสซิปปี ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโก
2.5 ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นที่ราบที่อยู่ระหว่างเทือกเขาอัปปาเลเชียนและมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นเขตปลูกยาสูบที่สำคัญ โดยปลูกมากในรัฐแคโรไลนาเหนือ เคนตักกีและเวอร์จีเนีย
2.6 เขตที่ราบเกรตเพลน เป็นเขตที่มีพื้นที่กว้างขวาง ค่อนข้างแห้งแล้ง เนื่องจากเป็นเขตเงาฝน อยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาร็อกกี เป็นเขตที่มีการเลี้ยงวัวเนื้อ โดยปล่อยให้หากินเอง

3. เขตหินเก่าแคนาดา หรือแคนาเดียนชิลด์ Canadian Shield หรือ Laurentian Shieldได้แก่ บริเวณรอบ ๆ อ่าวฮัดสันจนถึงเกรตเลกส์ เป็นเขตหินเก่าเช่นเดียวกับบอลติกชิลด์ในทวีปยุโรปประกอบด้วยหินเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่และผ่านการสึกกร่อนมาเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี อากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะทางตอนเหนือของเขตนี้ มีธารน้ำแข็งปกคลุม บางแห่งเป็นทะเลสาบที่ตื้นเขิน มีป่าสนขึ้นแทน ทำให้มีประชากรอาศัยอยู่น้อย เป็นส่วนใหญ่เป็นพวกเอสกิโม ซึ่งสร้างที่อยู่อาศัยด้วยน้ำแข็ง เรียกว่า “อิกลู” Igloo และเป็นเขตที่มีน้ำตำไนแอการา ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างประเทศแคนาดากับสหรัฐอเมริกา 

Image

 

                                                                                           น้ำตกไนแอการา

4. เขตเทือกเขาหินเก่าทางตะวันออก หรือ เทือกเขาอัปปาเลเชียน ประกอบด้วยเทือกเขาเตี้ย ๆ ขนานไปกับชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในเขตนี้พื้นที่มีความต่างระดับกัน ทำให้เกิดแนวน้ำตกมากมาย
ทวีปอเมริกาเหนือเป็นทวีปที่ล้อมรอบด้วยมหาสมุทร จึงมีลักษณะภูมิประเทศเป็นชายฝั่งทะเล โดยชายฝั่งทางตอนเหนือบริเวณอ่าวอะแลสก้าจะเป็นชายฝั่งที่มีลักษณะเว้า แหว่งมาก เรียกว่า ฟยอร์ด (Fjord) ซึ่งเกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง เช่น เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนนาดา ส่วนชายฝั่งทางตอนใต้บริเวณอ่าวเม็กซิโก จะเป็นที่ราบชายฝั่งที่เกิดจากการกระทำของแม่น้ำ ซึ่งได้พัดพาตะกอนมาสะสม จึงเป็นที่ตั้งของเมืองท่าและเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น เมือง ฮิวสตัน เมืองนิวออร์ลีนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

Image

เมืองนิวออร์ลีนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ทวีปอเมริกาใต้

        ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ทางซีกโลกใต้   เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบสูง มีที่ราบเฉพาะเขตชายฝั่งและลุ่มแม่น้ำ  ภูมิอากาศมีทั้งเขตร้อนและเขตอบอุ่น   ซึ่งเหมาะแก่การดำรงชีวิต  จึงเป็นทวีปที่มีประชากรอาศัยอยู่มากแห่งหนึ่งของโลก   แต่เนื่องจากความแตกต่างทางด้านสังคม การเมือง และปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของประชากร   ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ยังไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ทั้งๆที่อยู่ใกล้ชิดติดต่อกับทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นทวีปที่พัฒนาและเจริญก้าวหน้ามากในทุกๆด้าน
ทวีปอเมริกใต้ เป็นทวีปที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ทางซีกโลกใต้  โดยมีเส้นศูนย์สูตรและเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์นลากผ่าน ซึ่งแสดงว่าทวีปอเมริกาใต้มีลักษณะภูมิอากาศทั้งเขตร้อนและเขตอบอุ่น   ทวีปอเมริกาใต้เป็นที่ทวีปที่มีความแตกต่างกันทางด้านกายภาพมากแห่งหนึ่งของโลก  กล่าวคือ  เป็นดินแดนที่มีระบบภูเขาซึ่งมีแนวต่อเนื่องกันยาวที่สุดในโลก  และมีที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ปกคลุมด้วยป่าดิบชื้นที่กว้างขวางที่สุดในโลก ขณะที่ดินแดนบางส่วนของทวีปนี้มีอากาศแห้งแล้งมาก นอกจากนี้ประชากรในทวีปอเมริกาใต้ ยังมีความหลากหลายในด้านเชื้อชาติและการดำเนินชีวิต  คือ  มีทั้งชาวอินเดียน   ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมชาวสเปนและโปรตุเกสซึ่งเป็นพวกผิวขาว พวกผิวดำชาวแอฟริกา พวกผิดเหลืองชาวเอเชีย  ซึ่งเป็นผู้อพยพเข้ามาอยู่ใหม่ และพวกเมติโซซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์เลือดผสม ส่วนวิถีการดำเนินชีวิต มีตั้งแต่สภาพความเป็นอยู่ตามธรรมชาติแบบเก่าแก่ดั้งเดิม จนกระทั่งการมีชีวิตที่ทันสมัยแบบชาวเมืองยุโรป

ลักษณะทางกายภาพ
1.ที่ตั้ง
ทวีปอเมริกาใต้ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดประมาณ 12-56 องศาใต้ และลองจิจูดประมาณ 34-81  องศาตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ทางซีกโลกใต้ มีพื้นที่ส่วนน้อยที่อยู่ทางซีกโลกเหนือ

2.อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับทวีปอเมริกาเหนือ ทะเลแคริบเบียน และมหาสมุทรแอตแลนติก  เกาะที่สำคัญทางตอนเหนือของทวีป ได้แก่ เกาะตรินิแดด เกาะโตเบโก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับมหาสมุทรแอตแลนติก
ทิศใต้ ติดต่อกับช่องแคบเดรค (Drake Passage) ซึ่งเป็นน่านน้ำที่คั่นทวีปอเมริกาใต้กับทวีปแอนตาร์กติกา  เกาะใหญ่ทางใต้สุด คือ เกาะเตียร์ราเดลฟิวโก (Tierra del Fuego) โดยมีช่องแคบแมกเจลแลนด์คั่นกับแผ่นดินใหญ่ เกาะฟอล์กแลนด์ของอังกฤษ ซึ่งเป็นเกาะที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก และคลองปานามา เกาะสำคัญทางตะวันตก ได้แก่ หมู่เกาะกาลาปากอส

3.ขนาด
ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่ประมาณ 17,819,647 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่  4 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย แอฟริกาและอเมริกาเหนือ  มีความยาววัดจากทิศเหนือสุดถึงทิศใต้สุดได้ประมาณ 7,360 กิโลเมตร และมีความกว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกได้ประมาณ 5,180 กิโลเมตร
ทวีปอเมริกาใต้มีรูปร่างคล้ายคลึงกับทวีปอเมริกาเหนือ คือ มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีฐานกว้างอยู่ทางทิศเหนือ และมียอดแหลมอยู่ทางทิศใต้

Image

4.ลักษณะภูมิประเทศ   แบ่งออกเป็น 3 เขต ได้แก่
1) เขตเทือกเขาทางตะวันตก
ทางด้านตะวันตกของทวีปซึ่งติดต่อกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก มีเทือกเขาแอนดีส ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีภูเขาไฟที่ยังทรงพลังอยู่หลายลูก ทอดเป็นแนวยาวขนานกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก จากเหนือสุดลงมาใต้สุด ตั้งแต่ปานามาเกาะเตียร์ราเดลฟิวโก  แนวเทือกเขานี้มีความยาวประมาณ 7,200 กิโลเมตร  นับเป็นเทือกเขาที่ยาวที่สุดในโลก และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำโอริโนโค และแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญในทวีปอเมริกาใต้ มียอดเขาที่สูงที่สุด  ชื่อ อะคองคากัว (Acomcagua) สูงประมาณ 6,960  เมตรในประเทศอาร์เจนตินา เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือและใต้  ในเขตเทือกเขาแอนดีสช่วงที่เทือกเขาแยกตัวออกเป็น 2 แนว มีที่ราบสูงโบลิเวีย ซึ่งเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ที่มีความสูงจากระดับมากเป็นที่สองของโลกรองจากที่ราบสูงทิเบต  และบนที่ราบสูงมีทะเลสาบสำคัญ ชื่อ  ทะเลสาบติติกากา  เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่ใช้เดินเรือได้ อยู่สูงที่สุดในโลก (3,810 เมตร)
2) เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ประกอบด้วย
-ที่ราบลุ่มแม่น้ำโอริโนโค อยู่ทางตอนเหนือสุด มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอนดีส  ไหลผ่านที่ราบในเขตประเทศโคลัมเบีย และเวเนซูเอลา ลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก
-ที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน  เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่ใหญ่และมีประมาณน้ำมากที่สุดของโลก  มีเนื้อที่ประมาณ 7 ล้านกิโลเมตร มีความยาวประมาณ 6,437 กิโลเมตร ยาวเป็นอันดับ 2 รองจากแม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำที่ได้รับน้ำจากหลายสาขาที่มีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาแอนดีส ที่ราบสูงกิอานาและที่ราบสูงบราซิล และไหลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกในเขตประเทศบราซิล
-ที่ราบลุ่มแม่น้ำปารานา-ปารากวัย-อุรุกวัย อยู่ทางใต้ของที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน ในเขตประเทศปารากวัย อุรุกวัยและอาร์เจนตินา บริเวณที่แม่น้ำทั้ง 3 ไหลมาบรรจบกันมีลักษณะเป็นอ่าวใหญ่ เรียกว่า  ริโอเดลาพลาตา (Rio de la Plata)
3)เขตที่ราบสูงภาคตะวันออก ประกอบด้วย
-ที่ราบสูงกิอานา อยู่ในเขตประเทศเวเนซุเอลา เฟรนซ์เกียนา ซรินาเม กายอานาและภาคเหนือของประเทศบราซิล
-ที่ราบสูงบราซิล อยู่ทางด้านตะวันออกของทวีปในเขตประเทศบราซิล ระหว่างลุ่มแม่น้ำแอมะซอนกับลุ่มแม่น้ำปารานาและปารากวัย เป็นที่ราบสูงที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่มาก
-ที่ราบสูงโตกรอสโซ อยู่ทางตะวันตกของที่ราบสูงบราซิลในเขตประเทศบราซิลและโบลิเวีย
-ที่ราบสูงปาตาโกเนียเป็นที่ราบสูงเชิงเขาแอนดีส อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอาร์เจนตินา

ลักษณะภูมิอากาศ 
ลักษณะภูมิอากาศของทวีปอเมริกาใต้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
1.ที่ตั้ง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตละติจูดต่ำ ดังนั้นเกือบทุกประเทศอยู่ในเขตร้อน ยกเว้น อุรุกวัย  อาร์เจนตินา ชิลีที่อยู่ในเขตละติจูกลาง หรืออยู่ในเขตอบอุ่น
2.ลักษณะภูมิประเทศ มีเทือกเขาแอนดีสวางตัวอยู่แนวเหนือ-ใต้ขนานกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก  จึงเป็นกำแพงขวางกั้นความชื้นและลมประจำที่พัดจากทะเล   ทำให้ดินแดนภายในทวีปบางบริเวณมีอากาศแห้งแล้ง เป็นเขตทุ่งหญ้าและทะเลทราย  ประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตละติจูดต่ำมีอากาศร้อน ยกเว้นบริเวณเทือกเขาและที่ราบสูงจะมีอุณหภูมิลดลงจะมีอากาศอบอุ่น เช่น โบโกตา เมืองหลวงของประเทศโคลัมเบีย ลาปาซ เมืองหลวงของประเทศโบลิเวีย
3.ลมประจำ พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้อยู่ในเขตลมสงบบริเวณศูนย์สูตร และเขตอิทธิพลของลมสินค้าตะวันออกเฉียงเหนือและลมสินค้าตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ชายฝั่งตะวันออกของทวีปมีฝนตกชุก  แต่ลมนี้ไม่ได้นำความชื้นเข้าสู่พื้นที่ภายในทวีป
4.กระแสน้ำ กระแสน้ำเย็นเวสต์วินด์  ไหลมาจากแถบขั้วโลกผ่านเลียบชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ คือ ชายฝั่งทะเลของประเทศชิลีและเปรูเรียกว่า กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ หรือกระแสน้ำเย็นเปรู ทำให้ชายฝั่งด้านนี้ในฤดูร้อนไม่ร้อนมากนัก ทางด้านตะวันออกมีกระแสน้ำอุ่นบราซิลและกระแสน้ำเย็นฟอล์กแลนด์ไหลผ่าน

ลักษณะภูมิอากาศของอเมริกาใต้ แบ่งออกเป็น 8 เขต
1.เขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest Climate)  เป็นเขตที่มีอากาศร้อนและชุ่มชื้นตลอดปีพบในบริเวณเขตศูนย์สูตรแถบลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล  พืชพรรณธรรมชาติ เป็น ป่าดิบ เรียกว่า ป่าเซลวาส (Selvas)
2.เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือสะวันนา  (Savanan Climate)  เป็นเขตที่มีอากาศร้อนตลอดปี มีฤดูแล้งสลับกับฤดูฝนพบในบริเวณลุ่มแม่น้ำโอริโนโคในประเทศโคลัมเบียและเวเนซุเอลา ที่ราบสูงกิอานาในประเทศเวเนซุเอลา ที่ราบสูงบราซิล   พืชพรรณธรรมชาติ เป็น ทุ่งหญ้าและป่าโปร่งทุ่งหญ้าในเขตลุ่มแม่น้ำโอริโนโคและที่ราบสูงกิอานา เรียกว่า ทุ่งหญ้ายาโนส (Llanos)  ทุ่งหญ้าในเขตประเทศบราซิล เรียกว่า ทุ่งหญ้าแคมโปส  ทุ่งหญ้าทางตอนใต้ของบราซิล ปารากวัยและตอนเหนือของอาร์เจนตินา เรียกว่า ทุ่งหญ้ากรันชาโก
3.เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 10 นิ้วต่อปี  ได้แก่ ทะเลทรายอะตากามา ทางชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในเขตประเทศเปรู และตอนเหนือของชีลี และทะเลทรายในเขตที่ราบสูงปาตาโกเนียทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสในเขตประเทศอาร์เจนตินา
4.เขตภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) ซึ่งอยู่ระหว่างเขตทะเลทรายกับเขตอบอุ่น  มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 15 นิ้วต่อปี พบบริเวณตะวันออกของอาร์เจนตินาถึงที่ราบสูงปาตาโกเนียทางตอนใต้   พืชพรรณธรรมชาติ ทุ่งหญ้าสั้นๆ หรือทุ่งหญ้าสเตปป์
5.เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) มีอากาศร้อนแห้งแล้งในฤดูร้อน และมีอากาศอบอุ่นฝนตกในฤดูหนาวพบบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางของชิลี   พืชพรรณธรรมชาติ ไม้พุ่มมีหนาม ใบแหลมเรียวเล็ก เป็นมันเปลือกหนา เพื่อป้องกันการคายน้ำในฤดูร้อน
6.เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Humid Subtropical Climate) มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้น ปริมาณน้ำฝนปานกลาง ประมาณ 750-1,500 มิลลิเมตรต่อปี  ได้รับอิทธิพลจากลมประจำที่พัดผ่านน่านน้ำนำกระแสน้ำอุ่นเข้าสู่ฝั่ง  พบบริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีป   พืชพรรณธรรมชาติ  เป็นป่าผลัดใบ และบริเวณภายในมีปริมาณน้ำฝนน้อยลง  พืชพรรณเป็นทุ่งหญ้ายาวเรียกว่า ทุ่งหญ้าปามปัส (Pampas) มีความสำคัญทางการเกษตรของประเทศปารากวัย อุรุกวัยและอาร์เจนตินา
7.เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Marine Westcoast Climate)  มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้นตลอดปี เพราะได้รับอิทธิพลจากลมประจำตะวันตก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 5,000 มิลลิเมตรต่อปี  พบบริเวณทางตอนใต้ของเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนในประเทศชีลี  พืชพรรณธรรมชาติ ป่าผลัดใบกับป่าสน
8.เขตภูมิอากาศแบบภูเขาสูง มีอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามความสูงของพื้นที่พบบริเวณแถบเทือกเขาแอนดีส

ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม
ทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งอารยธรรมดั้งเดิมของชาวอินเดียนเผ่าอินคา เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ของประเทศเอกวาดอร์ เปรู โบลิเวียและทางตอนเหนือของประเทศชีลิในปัจจุบัน อาณาจักรนี้มีความเจริญสูงสุดประมาณตอนกลางของพุทธศตวรรษที่ 20  สิ่งที่แสดงถึงอารยธรรมของพวกอินคา ได้แก่ การนำหินมาปูถนน การทำสะพานแขวนด้วยเชือกเพื่อทอดข้ามลำธาร แม่น้ำและหุบเขาแคบๆ การสกัดหินภูเขาออกมาเป็นแท่งๆ   เพื่อนำไปก่อสร้างที่อยู่อาศัย การปรับพื้นที่เนินเขาให้เป็นขั้นบันไดเพื่อใช้เพาะปลูกการขุดคลองเพื่อส่งน้ำเพื่อการเกษตร   ใน พ.ศ.2075 อาณาจักรอินคาต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสเปน สเปนจึงมีอำนาจปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์นี้ การที่สเปนเข้ามามีอิทธิพลในทวีปอเมริกาใต้ ทำให้มีคำเล่าลือว่าทวีปอเมริกาใต้เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทองคำ เงินและโลหะอื่นๆ ซึ่งเป็นดึงดูดใจให้ผู้คนในประเทศสเปนและโปรตุเกส  พากันเดินทางเข้ามาแสวงโชคลาภในทวีปนี้มากขึ้น ดังนั้นทุกภูมิภาคในทวีปนอเมริกาใต้จึงตกเป็นอาณานิคมของสเปน ยกเว้นบราซิลเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส   ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ชาวอาณานิคมได้ต่อสู้จนได้รับเอกราช และได้สถาปนาเป็นประเทศเอกราชเกือบทั้งหมด ยกเว้นเฟรนซ์เกียนาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสและเกาะฟอล์กแลนด์เป็นดินแดนในปกครองของอังกฤษ

ลักษณะทางด้านประชากร
1.เชื้อชาติ ประกอบด้วยกลุ่มชน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มชาวอินเดียน กลุ่มชาวผิวขาวและกลุ่มชาวผิวดำ
1.1 กลุ่มอินเดียน เป็นชนเผ่าดั้งเดิม  ที่สร้างสรรค์อารยธรรมในทวีปอเมริกาใต้เมื่อประมาณ 5,000 ปี ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแถบที่สูงของเทือกเขาแอนดีส และบางส่วนอาศัยอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและชายฝั่งทะเลแคริบแบียน  เมื่อชาวผิวขาวได้เข้ามามีอิทธิพลในทวีปอเมริกาใต้ก็บังคับให้ชาวอินเดียนทำงานในไร่นาและเหมืองแร่ของตน ต่อมามีผู้หญิงอินเดียจำนวนมากได้แต่งงานกับคนผิวขาว ทำให้มีลูกเลือดผสมเรียกว่า เมสติโซ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ ส่วนชาวอินเดียเลือดบริสุทธิ์ปัจจุบันมีอยู่จำนวนน้อยในบางประเทศ เช่น เปรู โบลิเวีย เอกวาดอร์ บราซิล
1.2 กลุ่มผิวขาว ซึ่งอพยพเข้าไปตั้งหลักแหล่งเมื่อประมาณ พ.ศ.2400 ได้แก่ ชาวสเปน โปรตุเกส  อิตาลี เยอรมัน และโปแลนด์ ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวญี่ปุ่น  เป็นพวกผิวเหลืองได้อพยพเข้าสู่ทวีปอเมริกาใต้เป็นจำนวนมาก
1.3 กลุ่มผิวดำ  จากทวีปแอฟริกาได้อพยพเข้าในฐานะใช้แรงงานในไร่นาและเหมืองแร่ของพวกผิวขาวในประเทศบราซิลและโคลัมเบีย ต่อมาคนผิวดำได้แต่งงานกับคนผิวขาว  และมีลูกเลือดผสมเรียกว่า มูแลตโต ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศบราซิลและโคลัมเบีย
2.ภาษา ประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาใต้ ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ ยกเว้นประเทศบราซิลใช้ภาษาโปรตุเกส ประเทศกายอานา ใช้ภาษาอังกฤษ เฟรนซ์เกียนา ใช้ภาษาฝรั่งเศส และซูรินาเม  ใช้ภาษาดัตช์
3.ศาสนา  ประชากรร้อยละ 90 ของทวีปอเมริกาใต้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก  ที่ชาวสเปนและโปรตุเกสเป็นผู้นำเข้ามาเผยแผ่ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์มีผู้นับถือน้อย
4.การศึกษา ประเทศที่มีการศึกษาพัฒนามากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่ อาร์เจนตินา ชีลี  กายอานา  อุรุกวัย และซูรินาเม ประชากรของประเทศเหล่านี้มีอัตราการอ่านเขียนได้สูง  เพราะเป็นประเทศมี่มีเศรษฐกิจค่อนข้างดี   จึงสามารถจัดการศึกษาบังคับแบบให้เปล่าได้ทั่วถึง ส่วนประเทศอื่นๆ มีประชากรอ่านออกเขียนได้ยู่ในอัตราที่ต่ำกว่านี้
5.การกระจายและความหนาแน่นของประชากร
ทวีปอเมริกาใต้มีประชากรทั้งหมด 331 ล้านคน (พ.ศ.2541) เฉลี่ยความหนาแน่นของประชากร 18.6 คนต่อตารางกิโลเมตร จัดเป็นทวีปที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง
บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง
– บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งเป็นเขตป่าดิบที่มีการคมนาคมติดต่อกันได้ยากลำบาก มีอุทกภัยเกิดขึ้นเสมอและมีสัตว์ป่าที่เป็นอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บชุกชุม
– บริเวณที่ราบสูงทั้งในเขตร้อนและอบอุ่น มีอากาศแห้งแล้งเป็นทะเลทราย หรือทุ่งหญ้าเขตร้อนมีดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น เป็นบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเหมาะแก่การดำเนินชีวิต  มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีการคมนาคมขนส่งสะดวก ได้แก่
– บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกตั้งแต่ปากแม่น้ำแอมะซอนจนถึงปากอ่าวริโอเดอลาพลาตา
– เขตที่ราบสูงของเทือกเขาแอนดีสในประเทศโคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู
– เขตเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาใต้

อาชีพและทรัพยากรธรรมชาติ
1.การเพาะปลูก ที่สำคัญได้แก่
– กาแฟ  ประเทศที่ผลิตกาแฟในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่ บราซิล โคลัมเบีย เอกวาดอร์  โดยเฉพาะบราซิล เป็นประเทศที่ส่งกาแฟออกจำหน่ายมากร้อยละ 50 ของโลก
– โกโก้ ได้จากเมล็ดกาเกา ใช้ทำช็อกโกเลต เครื่องดื่ม และขนมหวาน เป็นพืชพื้นเมืองของอเมริกาใต้ ประเทศที่ผลิตได้มาก คือ บราซิลและเอกวาดอร์
– ข้าวโพด  เป็นพืชที่ปลูกมากและส่งออกของประเทศบราซิล รองลงมาได้แก่  อาร์เจนตินา  เวเนซุเอลา เปรูและโคลัมเบีย
– ข้าวสาลี ประเทศที่ผลิตได้มาก คือ อาร์เจนตินา บราซิล ชีลี
– อ้อย ปลูกมากในประเทศบราซิล
– กล้วย ปลูกมากในประเทศเอกวาดอร์
– ฝ้าย ปลูกมากในประเทศบราซิลและอาร์เจนตินา
2.การเลี้ยวสัตว์
ทวีปอเมริกาใต้เป็นทวีปที่มีทุ่งหญ้าอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์  ได้แก่ ทุ่งหญ้ายาโนส  ทุ่งหญ้าแคมโปสและทุ่งหญ้ากรันชาโก ส่วนทุ่งหญ้าปามปัสอยู่ในเขตประเทศอาร์เจนตินา อุรุกวัยและตอนใต้ของบราซิล สัตว์เลี้ยงที่สำคัญได้แก่
– โคเนื้อ ประเทศที่เลี้ยงโคเนื้อมาก คือ อาร์เจนตินา อุรุกวัย และบราซิล
– แกะ ประเทศที่เลี้ยงมากคือ อุรุกวัย เลี้ยงมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากออสเตรเลีย
– สุกร ประเทศที่เลี้ยงมาก คือ เปรู บราซิล
3.ป่าไม้และผลผลิตจากไม้
แหล่งป่าไม้เนื้อแข็งที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์และกว้างขวาง  คือ  ป่าเซลวาสในบริเวณแม่น้ำแอมะซอน แต่มีการนำมาใช้น้อย เพราะการคมนาคมขนส่งไม่สะดวกควินิน (Quinine) ใช้ทำเป็นยาป้องกันโรคมาลาเรีย ได้จากต้นซิงโคนา   ยูคาลิปตอล (Eucalyptol) จากต้นยูคาลิปตัส ใช้เป็นส่วนผสมของยาแก้ไอ   ยางพารา เป็นพืชดั้งเดิมของอเมริกาใต้   ยางไม้ (Chicle) ใช้ทำหมากฝรั่ง   ยางบาลาตา (Balata) ใช้หุ้มสายเคเบิลใต้น้ำ และหุ้มลูกกอล์ฟ   ฝาด (Tannin) ใช้ฟอกหนัง   บราซิลนัด (Brazil nut) ใช้เป็นอาหาร   ประเทศที่ผลผลิตไม้และผลผลิตจากป่าไม้ที่สำคัญ คือ บราซิล โคลัมเบีย และเปรู
4.การประมง
บริเวณทางชายฝั่งตะวันตกด้านมหาสมุทรแปซิฟิก  บริเวณประเทศเปรูและชิลี  เป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมแห่งหนึ่งของโลก  เพราะเป็นบริเวณที่กระแสน้ำเย็นเปรูหรือกระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์กับกระแสน้ำอุ่นใต้เส้นศูนย์สูตรไหลบรรจบกัน
5.การทำเหมืองแร่   อเมริกาใต้มีแร่ธาตุทีสำคัญหลายชนิด ได้แก่
– ทองแดง ประเทศที่ผลิตทองแดงได้เป็นอันดับ 1 ของโลก คือ ประเทศชิลี  อยู่ในแคว้นชูคีตมาตานอกจากนี้ยังมีประเทศเปรูและ    บราซิล
– เหล็ก ประเทศที่ผลิตได้มากเป็นอันดับ 2 ของโลก คือ บราซิล  นอกจากนี้ยังประเทศเวเนซุเอลาโบลีเวียและชีลี
– ดีบุก ประเทศที่ผลิตได้มากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากมาเลเซีย คือ โบลีเวีย  อยู่ในเขตที่ราบสูงอัลติพลาโน
– สังกะสี ผลิตได้มากในประเทศเปรู อาร์เจนตินา บราซิล
–  ทองคำ ประเทศที่ผลิตได้มาก คือ ประเทศบราซิล
– น้ำมันปิโตรเลียม  ประเทศที่ผลิตได้มาก คือ เวเนซุเอลา อยู่บริเวณรอบๆ  ทะเลสาบมาราไคโบ นอกจากนี้ยังมีในประเทศ บราซิล เอกวาดอร์  โบลิเวีย แต่มีปริมาณไม่มาก
6.การอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมในทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเบา  เป็นแปรผลผลิตทางการเกษตร   เช่น การผลิตน้ำตาล  อาหารกระป๋อง ประเทศที่มีอุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้าและมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่  ได้แก่ บราซิลและอาร์เจนตินา เช่น การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า การกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี การผลิตรถยนต์ และอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมืองใหญ่หรือเมืองหลวง เช่น เซาเปาโล ริโอเดจาเนโร  บูเอโนสไอเรสฯลฯ
7.การค้าขาย   สินค้าออก ส่วนใหญ่ของประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่ วัตถุดิบและผลผลิตทางการเกษตร  ที่สำคัญคือ กาแฟ เนื้อสัตว์ ข้าวโพด กล้วย โกโก้ ฝ้าย น้ำมัน สินแร่เหล็กและทองแดง   สินค้าเข้า ส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรและเครื่องยนต์สำหรบการเกษตร ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์และสิ่งทอ   ในการค้ากับต่างประเทศเกือบทุกประเทศเสียดุลการค้าตลอดมา ยกเว้นประเทศบราซิล  เพราะเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ  และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท  จนมีผลผลิตส่งเป็นสินค้าออก ส่วนเวเนซุเอลา เป็นประเทศที่ส่งน้ำมันดิบเป็นสินค้าออกรายใหญ่รายหนึ่งของโลก   ประเทศคู่การค้าสำคัญของประเทศต่างๆในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักรและประเทศในทวีปอเมริกาใต้ด้วยกัน
8.การคมนาคมขนส่ง
แม้ทวีปอเมริกาใต้จะมีอาณาเขตติดต่อเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันกับทวีปอเมริกาเหนือ  แต่ระบบการคมนาคมขนส่งในทวีปยังหล้าหลังอยู่มาก  และกระจายไม่ทั่วถึงทุกส่วนของทวีป  เพราะประเทศส่วนใหญ่เป็นประเทศยากจนและด้อยพัฒนา  ประกอบกับการมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมขนส่งอยู่ทุกภูมิภาค กล่าวคือ มีภูเขาสูงที่ทุรกันดาร มีภูมิอากาศแห้งแล้งเป็นทะเลทราย  บริเวณที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวกจึงกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ ในเขตที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ มีสภาพ   ภูมิอากาศที่ไม่ร้อนหรือแห้งแล้งเกินไป ประกอบด้วย
1.ทางบก ประกอบด้วย
1.1 ทางรถยนต์ ทวีปอเมริกาใต้มีถนนสายหลักที่ใช้ติดต่อเชื่อมประเทศต่างๆ คือ  ทางหลวงสายแพนอเมริกัน (Pan-American Highway)  เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อจากประเทศสหรัฐอเมริกาลงมาถึงตอนใต้ของประเทศชีลี โดยมีเส้นทางตัดเชื่อมไปยังเมืองหลวงของประเทศต่างๆกว่า 17 เมือง  ส่วนประเทศที่มีการพัฒนาเส้นทางรถยนต์อยู่ในระดับดี ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล และชีลี
1.2ทางรถไฟ   ทางรถไฟในทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่เป็นสายสั้นๆ เชื่อมเมืองใหญ่หรือเมืองท่าระหว่างชายฝั่งกับที่ราบภาคใต้ ประเทศที่มีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งทางรถไฟได้เจริญก้าวหน้ามาก ได้แก่ บราซิล อาร์เจนตินา เมืองที่เป็นศูนย์กลางทางรถไฟในทวีปอเมริกาใต้ ได้แก่ ริโอเดจาเนโร เซาเปาลู  ในประเทศบราซิล เมืองมอนเตวิเดโอในประเทศอุรุกวัย บูเอโนสไอเรส ในประเทศอาร์เจนตินา
1.3 ทางน้ำ    ทางแม่น้ำลำคลอง ที่ใช้ในการคมนาคมขนส่งได้ดี คือ แม่น้ำปารานา ซึ่งสามารถเดินเรือเชื่อติดต่อระหว่างเมืองบูเอโนสไอเรสในประเทศอาร์เจนตินากับเมืองต่างๆ  ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ  แม่น้ำแอมะซอนแม้จะกว้างและลึกพอที่จะให้เรือเดินทะเลขนาดใหญ่แล่นเข้าไปได้ภายในทวีปได้ไกลถึงเมืองมาเนาส์   ซึ่งอยู่ห่างจากปากแม่น้ำประมาณ  1,600 กิโลเมตร  แต่ก็ไม่ค่อยได้ประโยชน์มากนัก  เพราะในเขตลุ่มแม่น้ำนี้มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจน้อย
2.ทางทะเล  ทวีปอเมริกาใต้สามารถใช้เรือเดินสมุทร  ติดต่อกับทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรปได้สะดวก โดยอาศัยเมืองท่าด้านชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น เมืองเบแลง เรซิเฟ ริโอเดจาเนโร  ในประเทศบราซิล เมืองมอนเดวิเดโอ ในประเทศอุรุกวัย เมืองบูเอโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา และเมืองคารากัส ในประเทศเวเนซุเอลา ส่วนเมืองท่าทางด้านชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ เมืองคายาโอ  ในประเทศเปรู เมืองวัลพาไรโซ ประเทศชิลี
3.ทางอากาศ  ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าทึบ ภูเขาสูงและทะเลทราย  ประกอบแหล่งที่มีประชากรหนาแน่นอยู่ห่างไกลกัน  การคมนาคมขนส่งทางอากาศจึงมีความสำคัญมาก  ทุกประเทศพยายามพัฒนาการขนส่งทางอากาศให้ทั่วถึง ประเทศที่มีการคมนาคมขนส่งทางอากาศมาก ได้แก่ ประเทศบราซิลและอาร์เจนตินา  มีท่าอากาศยานภายในประเทศและระหว่างประเทศที่ทันสมัยอยู่หลายแห่ง เพราะเป็นประเทศที่มีภาวะเศรษฐกิจค่อนข้างดี


รายการ……ลองทำดู
1.จงกล่าวถึงลักษณะที่ตั้งของทวีปอเมริกาใต้
2.ดินแดนที่อยู่เหนือ-ใต้-ตะวันออก-ตะวันตกสุดของทวีปอเมริกาใต้คือบริเวณใด
3.ประเทศใดในทวีปอเมริกาใต้ที่ติดต่อกับทวีปอเมริกาเหนือ
4.หมู่เกาะที่เป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษมาจนถึงปัจจุบันคือหมู่เกาะใด
5.ช่องแคบแมกเจลแลนอยู่ระหว่างแผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้กับเกาะอะไร
6.ประเทศที่มีแนวของเส้นศูนย์สูตรลากผ่านเมืองหลวง คือประเทศอะไร
7.ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ที่เป็น Lock Land คือประเทศใด
8.ประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้คือประเทศใด
9.เทือกเขาที่มีแนวต่อเนื่องกันยาวที่สุดในโลกคือเทือกเขาอะไร
10.ที่ราบสูงในทวีปอเมริกาใต้ที่ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสคือที่ราบสูงอะไร
11.ยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปอเมริกาใต้คือยอดเขาอะไร
12.ทะเลสาบที่ได้ชื่อว่าอยู่สูงที่สุดในโลก และอยู่ในประเทศใด
13.ที่ราบสูงที่ตั้งอยู่ระหว่างเชิงเขาแอนดีสกับมหาสมุทรแปซิฟิกในทวีปอเมริกาใต้ มีชื่อว่าอะไร
14.แม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ที่ไหลผ่านประเทศเวเนซุเอลาลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติก คือแม่น้ำอะไร
15.จงบอกชื่อที่ราบสูงในทวีปอเมริกาใต้
16.ที่ราบสูงในทวีปอเมริกาใต้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือที่ราบสูงอะไร
17.แม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่ไหลลงสู่มหาสมุทรอะไร
18.จงบอกชื่อประเทศในทวีปอเมริกาใต้ที่ตั้งอยู่ในเขตเทือกเขาแอนดีส
19.ที่ราบสูงที่ตั้งอยู่ตอนกลางของเทือกเขาแอนดีสคือที่ราบสูงอะไร
20.ลุ่มแม่น้ำที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดในโลกคือลุ่มแม่น้ำอะไร
21.พื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ตั้งอยู่ในเขตอากาศแบบใด
22.ประเทศใดในทวีปอเมริกาใต้ที่มีอากาศทั้งแบบเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลทราย
23.ประเทศใดในทวีปอเมริกาใต้ที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น
24.ทะเลทรายที่อยู่ในเขตที่ราบสูงทางตะวันตกของเทือกเขาแอนดีสคือทะเลทรายอะไร
25.จงบอกชื่อทุ่งหญ้าสะวันนาในทวีปอเมริกาใต้
26.ป่าเซลวาส เป็นป่าที่พบในเขตอากาศแบบใด
27.กระแสน้ำที่ไหลผ่านเลียบชายฝั่งของประเทศชิลีและเปรู มีชื่อว่าอะไร
28.พื้นที่ที่เป็นป่าดิบชื้นในทวีปอเมริกาใต้อยู่บริเวณใด
29.ริโอ เด ลา พลาตา คืออะไร
30.บริเวณใดของทวีปอเมริกาใต้ที่มีอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน
31.ภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตกพบในบริเวณใดของทวีปอเมริกาใต้
32.จงบอกชื่อกระแสน้ำที่ไหลผ่านทวีปอเมริกาใต้
33.ถ้านักเรียนไปเที่ยวประเทศชิลีจะพบภูมิอากาศแบบใดบ้าง
34.ภูมิอากาศแบบใดที่พบในเขตที่ราบสูงปาตาโกเนีย
35.ทุ่งหญ้าปามปัสส่วนใหญ่อยู่ในประเทศใด
36.ประชากรดั้งเดิมของทวีปอเมริกาใต้คือชนเผ่าใด
37.ชนเผ่าอินเดียนกลุ่มใดในทวีปอเมริกาใต้ที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในเขตประเทศเปรูปัจจุบัน
38.ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศใด
39.เมสติโซ เป็นกลุ่มเชื้อชาติผสมระหว่างชนกลุ่มใด
40.ภาษาราชการของประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ คือภาษาอะไร
41.ประเทศเดียวในทวีปเมริกาใต้ที่ใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการคือประเทศใด
42.ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้นับถือศาสนาคริสต์นิกายใด
43.งานเฉลิมฉลองทางศาสนาซึ่งจัดเป็นงานรื่นเริงที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวบราซิล คืออะไร
44.ประเทศใดในทวีปอเมริกาใต้ที่ประชาชนส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ
45.บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้คือบริเวณใด
46.บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางที่สุดในทวีปอเมริกาใต้คือบริเวณใด
47.อุปสรรคสำคัญที่มีต่อการพัฒนาการคมนาคมภายในทวีปอเมริกาใต้ คืออะไร
48.น่านน้ำที่มีการคมนาคมขนส่งทางเรือในปริมาณมากที่สุดคือน่านน้ำอะไร
49.พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของทวีปอเมริกาใต้ มีอะไรบ้าง
50.เปลือกซิงโคนาเป็นผลผลิตสำคัญอย่างหนึ่งที่ได้จากป่าฝนเมืองร้อนในทวีปอเมริกาใต้ มีประโยชน์อย่างไร
51.ประเทศใดในทวีปอเมริกาใต้ส่งเนื้อสัตว์เป็นสินค้าออกมากที่สุด
52.สัตว์เลี้ยงประเภทใดมีจำนวนมากในทวีปอเมริกาใต้
53.ประเทศใดมีการเลี้ยงแกะมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร
54.ประเทศใดในทวีปอเมริกาใต้ที่จับสัตว์น้ำได้มากที่สุด
55.ประเทศใดในทวีปอเมริกาใต้ที่ผลิตน้ำปิโตรเลียมได้มากที่สุด
56.ประเทศใดผลิตทองได้มากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้
57.ประเทศใดในทวีปอเมริกาใต้ที่เป็นสมาชิกขององค์ผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC)
58.ประเทศใดในทวีปอเมริกาใต้ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมได้ก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆในทวีปอเมริกาใต้
59.พื้นที่ส่วนใหญ่ของทุ่งหญ้าแคมโปสอยู่ในเขตประเทศใด
60.แหล่งผลิตน้ำมันปิโตรเลียมของทวีปอเมริกาใต้อยู่บริเวณใด
61.เมืองหลวงของประเทศใดในทวีปอเมริกาใต้ที่ตั้งอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางมากที่สุด
62.ประเทศใดมีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่ที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและที่ราบสูง
63.แม่น้ำใดในทวีปอเมริกาใต้มีต้นกำเนิดอยู่ในเขตที่ราบสูงบราซิล
64.เซาเปาโล เป็นเมืองท่าที่สำคัญของประเทศใด
65.ประเทศใดในทวีปอเมริกาใต้ที่ลักษณะภูมิประเทศเป็นแบบฟยอร์ด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก.. http://th.wikipedia.org/wiki/

                                 http://pongsathon0488.blogspot.com/

เศรษฐกิจพอเพียง

       cards-2007-09-20-43[1]

             เศรษฐกิจพอเพียง   คือ พระราชปรัชญาซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทย   เพื่อให้สังคมไทยมีชีวิตดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่ว่าเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์  หรือ  การเปลี่ยนแปลงใด ๆ บนพื้นฐานวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทยนำมาประยุกต์ใช้

“ความพอเพียง”  หมายถึง ความพอประมาณอย่างมีเหตุผล โดยสร้างภูมิ คุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร เพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว กว้างขวาง  ทั้ง ทางด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี   โดย อาศัยความรอบรู้    รอบคอบ    และความระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ     มาใช้ วางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน      ควบคู่ไปกับการสร้างพื้นฐานจิตใจของคนใน ชาติทุกระดับ ให้สำนึกในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ความมีสติปัญญา และความรอบคอบ มีเหตุผล

โดยที่ความพอประมาณนั้น หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มาก เกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอ ประมาณ  ความมีเหตุผล  หมายถึง   การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของพอเพียงนั้น จะ ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล   โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดและผลที่จะ เกิดขึ้นอย่างรอบคอบ

e0b8a8-5

การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก “พึ่งตนเอง”  คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย   สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง  เช่น  ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง     สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองในเรื่องของปัจจัยสี่ให้ได้ในระดับหนึ่ง

การพัฒนาตนเองให้สามารถ “อยู่ได้อย่างพอเพียง” คือ ดำเนินชีวิตโดยยึด หลักทางสายกลางให้อยู่ได้อย่างสมดุล    คือ  มีความสุขที่แท้  ไม่ให้รู้สึกขาดแคลน จนต้องเบียดเบียนตนเอง   หรือดำเนินชีวิตอย่างเกินพอดี   จนต้องเบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสิ่งแวดล้อม โดย

ความพอดีด้านจิตใจ

– ต้องเข้มแข็ง สามารถพึงตนเองได้

– มีจิตสำนึกที่ดี

– เอื้ออาทร ประนีประนอม

– นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก

– ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

– รู้รักสามัคคี

– สร้างความเข้มแข้งให้ครอบครัวและชุมชน

– รู้จักใช้และจัดการอย่างชาญฉลาดและรอบคอบ

– เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดความยั่งยืนอย่างสูงสุด

– รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องต่อความต้องการและสภาพแวดล้อม

– พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองก่อน

– ก่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มาก

– เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร

– พออยู่ พอกินสมควรตามอัตภาพ และฐานะของตน

 

เมื่อมีการกล่าวถึง เศรษฐกิจพอเพียง ในฐานะแนวความคิดหรือปรัชญา ในการดำรงชีวิต “ทฤษฎีใหม่” ก็มักจะได้รับการกล่าวอ้างถึงควบคู่กันเสมอในฐานะตัวอย่างหรือแนวทางในการนำ หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติเพราะทฤษฎีใหม่ คือการเลี้ยงตัวเองได้ในระดับชีวิตที่ประหยัด มีการผลิตที่พึ่งตนเองได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง ให้พอมีพอกินไม่อดอยาก มีการผลิต ข้าวบริโภคพอเพียงประจำปี

24dcc

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

 

หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ คือ การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสาน  มีการ ปลูกพืชผักสวนครัว    การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้มาเป็นปัจจัยการผลิตปุ๋ย เพื่อลดค่า ใช้จ่าย และบำรุงดิน    เช่น   การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา   การปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และไม้ใช้สอยในครัวเรือน การปลูกพืชสมุนไพร   ช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย การเลี้ยงปลาในร่อง สวน ในนาข้าวและแหล่งน้ำ  เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม การเลี้ยงไก่พื้นเมือง   และไก่ไข่ ประมาณ ๑๐-๑๕ ตัว ต่อครัวเรือน   เพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน   โดยใช้เศษอาหาร  รำ  และปลายข้าว จากผลผลิตการทำนา     ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากการปลูกพืชไร่    และการทำก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ที่เลี้ยงไว้ รวมทั้งการประกอบอาชีพเสริม เช่น การจักสาน ถัก ทอ แปรรูปอาหาร เป็นต้น

การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่นั้น กิจกรรมทุกอย่างจะพึ่ง กันและกัน เช่น

การเลี้ยงปลาในนาข้าว  ผลผลิตจากข้าวเป็นอาหารปลา ในขณะที่ปลาจะกินแมลงศัตรูข้าว และมูลปลาเป็นปุ๋ยต้นข้าว

การปลูกผักกับการเลี้ยงไก่ ไก่กินเศษพืชผัก มูลไก่เป็นปุ๋ย สำหรับผัก

การใช้ทรัพยากรในไร่นา มูลสัตว์ทำเป็นปุ๋ยคอก เศษหญ้า ใบไม้ทำปุ๋ยหมัก เศษพืชผักเป็นอาหารปลา ฟางข้าว  ใช้เพาะเห็ด

 

การใช้แรงงานในครอบครัว  เพื่อลดค่าใช้จ่ายและช่วยเสริมรายได้ เช่น การแปรรูป และถนอมอาหาร     เช่น   พริกแห้ง  มะนาวดอง  กล้วยตาก  ไข่เค็ม  กระเทียมดอง  ผักดอง น้ำพริกเครื่องแกง การจักสาน หัตถกรรม สิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ เช่น ดอกไม้ ใบยาง เครื่องใช้ และเครื่องจักสานจากผักตบชวา ไม้ไผ่ กล้วย

 02

 ที่มา http://www.chaipat.or.th/chaipat/content/porpeing/porpeing.html

 

 

 

 

สวนพฤกษศาสตร์

                                       Image

ดอกฟอเก็ทมีน็อต

ในบรรดาดอกไม้ที่มีชื่อแสนจะโรแมนติคมากที่สุด  เห็นจะหนีไม่พ้นดอกหญ้าขนาดเล็กจิ๋วที่มีสีเหมือนกับท้องฟ้ากลางฤดูร้อนของ ประเทศอังกฤษ  เพราะดอกไม้ชนิดนี้ใช้บอกความในใจได้ว่า …. อย่าลืมฉัน

มีเรื่องเล่ากันมาว่า  เมื่อนานมาแล้วตั้งแต่ดอกฟอร์เก็ตมีน็อตยังไม่ได้มีชื่อนี้  มีชายหนุ่มหญิงสาวคู่หนึ่งซึ่งเดาได้ไม่ยากว่าคงเป็นชาวอังกฤษ  เพราะหนุ่มสาวคู่นี้ชอบเดินเที่ยวป่า

ระหว่างทางที่ลัดเลาะไปตามลำธารสายเชี่ยวนั้น  หญิงสาวเห็นดอกหญ้าสีฟ้าสดใสขึ้นอยู่ตามริมฝั่งแล้วเกิดอยากได้ขึ้นมา  ชายหนุ่มจึงอาสาไปเก็บให้ตามแบบฉบับของพระเอกนิยายที่ควรจะเป็น  แต่ปรากฏว่าชายหนุ่มนี้เกิดซุ่มซ่ามและเหยียบพลาดเข้า ก็เลยหล่นลงน้ำไปทั้งตัว

อย่างไรก็ตาม  ชายหนุ่มไม่ทิ้งลวดลายของความเป็นพระเอก  เขาได้โยนดอกไม้ที่เก็บได้ให้กับหญิงสาวพร้อมกับตะโกนว่า “Forget me not!”  ในขณะที่สายน้ำก็ได้พัดพาเอาร่างของเขาออกไปไกลทุกที   ฝ่ายหญิงสาวครั้นได้รับดอกไม้แล้วก็ไม่รอช้า  รีบกระโจนลงน้ำและร้องเรียกตามไปเช่นกันว่า “Forget me not!”

เป็นอันว่าดอกไม้ชนิดนี้ได้ชื่อว่าดอกฟอร์เก็ตมีน็อต  ก็ด้วยเหตุฉะนี้แล

ตามที่เล่ากันมานั้น เรื่องมักจะจบลงที่  หนุ่มสาวคู่นี้หลุดลอยไปกับสายน้ำและไม่มีใครพบเห็นอีกเลย  แต่เพื่อไม่ให้เรื่องนี้กลายเป็นโศกนาฏกรรมไป  จึงจะขอเล่าต่อว่า  หลังจากที่สายน้ำไปพัดพาเอาคนทั้งสองขึ้นสู่ฝั่งแล้ว  ชายหนุ่มหญิงสาวก็ได้แต่งงานกัน  โดยได้เอาดอกไม้ที่พบในวันนั้นมาปลูกในสวนหน้าบ้าน

นับแต่นั้นเป็นต้นมาดอกไม้ชนิดนี้จึงถูกขนานนามว่า “Forget me not!”

ถึงแม้จะเป็นดอกไม้ที่มีคนรู้จักกันมากที่สุดชนิด หนึ่ง  แต่ดอกฟอร์เก็ตมีน็อตก็เป็นพันธุ์ไม้ที่จำแนกได้ยากมากอีกชนิดหนึ่ง   เพราะในกลุ่มนี้มีดอกที่ลักษณะคล้ายคลึงกันถึง 7 ชนิด โดยต่างกันที่ใบและพุ่มต้น ส่วนดอกนั้นมีขนาดและรายละเอียดบางประการเกือบจะใกล้เคียงกัน

 

ดอกฟอร์เก็ตมีน็อตเป็นดอกไม้ที่สวยงามมีความหมายมากๆ และนีก็ชอบมากเลยทีเดียว ชอบทั้งความสวยงามของดอกและตำนานอันแสนโรแมนติก

 

ที่มา http://phrajew.wordpress.com/2006/06/21/forgetmenot-อย่าลืมฉัน/

Image

 

ดอกกล้วยไม้

กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง

แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา

การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงาม ของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวัน ตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ ที่หายากและมีราคาแพง

หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้น ให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการ กล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัด ต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวง แคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ใน ประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วย ไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา.

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89

Image

 

ดอกชงโค

ชงโคเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อมสูงประมาณ ๕-๑o เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมน มองดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้ายใบกาหลง แต่เว้าลงลึกกว่า) ใบทั้งสองด้านมักพันเข้าหากันเหมือนปีกผีเสื้อ ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นใบแฝด (เหมือนกาหลง) เพราะปกติใบไม้ทั่วไปจะมีปลายใบแหลม หรือกลมมน ลักษณะของชงโคเป็นพุ่มค่อนข้างกว้างและใบดกทึบ เป็นต้นไม้ผลัดใบในฤดูหนาว (พฤศจิกายน-ธันวาคม) แล้วผลิใบ ใหม่ราวเดือนเมษายน-พฤษภาคมดอก ชงโคจะเริ่มออกดอกหลังจากผลิใบชุดใหม่ออกมาแล้ว คือหลังเดือนเมษายนเป็นต้นไป ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อยาวกว่าดอกกาหลง แต่ละช่อมีดอกย่อยราว ๖-๑o ดอก แต่ละดอกมีกลีบย่อย ๕ กลีบ รูปทรงคล้ายดอกกล้วยไม้ ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาว ๕ เส้น ยื่นไปด้านหน้าและปลายโค้งขึ้นด้านบน มีเกสรตัวเมียอยู่ตรงกลาง ๑ เส้น มีความยาวและโค้งขึ้นสูงกว่าเกสรตัวผู้ ดอกบานเต็มที่กว้างราว ๗-๙ เซนติเมตร มีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบดอกชงโคมีสีชมพูถึงม่วงแดง ผันแปรไปตามสายพันธุ์ของแต่ละต้นที่เกิดจากการเพาะเมล็ด หากต้องการให้มีสีเดียวกัน ต้องใช้วิธีขยายพันธุ์ด้วยกิ่ง เช่น ติดตาหรือทาบกิ่ง ดอกชงโคติดต้นอยู่ได้นานนับเดือน

ผล ลักษณะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่ว แก่ประมาณเดือนกันยายน-ธันวาคม ขนาดกว้างราว ๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๕-๒o เซนติเมตร เมล็ดค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความยาวของฝัก

ถิ่นกำเนิดเดิมของชงโคอยู่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย พม่า ไทย กัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นต้น ในประเทศไทยพบขึ้นปะปนอยู่กับต้นไม้ชนิดอื่นๆ ในป่าโปร่งผสม และป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือและภาคกลางจะพบมากกว่าภาคอื่น คนไทยรู้จักชงโคมาตั้งแต่อพยพมาอยู่พื้นที่ประเทศ ไทยปัจจุบัน ชื่อชงโคมีปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทย สมัยอยุธยาเป็นต้นมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ พ.ศ. ๒๔๑๖ อธิบายเกี่ยวกับชงโคไว้ว่า”ชงโค เป็นชื่อต้นไม้อย่างหนึ่งเหมือนอย่างต้นกาหลง  แต่สีมันแดง” แสดงว่าคนไทยกรุงเทพฯ สมัย ๑๓๒ ปีก่อนโน้น รู้จักทั้งกาหลงและชงโคเป็นอย่างดี ว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่สีของดอกเท่านั้น เพราะกาหลงมีกลีบดอกสีขาว ส่วนชงโคกลีบดอกออกไปทางสีแดง (ชมพู-ม่วง) ชื่อที่เรียกกันในเมืองไทยคือ ชงโค (กรุงเทพฯ-ภาคกลาง) เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน) เสี้ยวดอกแดง (เหนือ) ภาษาอังกฤษ เรียก ORCHID TRE  

การดูแล

ชงโคเป็นไม้ที่ชอบแดด ควรปลูกในที่ได้รับแสงแดดทั้งวัน ดินปลูกควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดี มีความชื้นสูง

ประโยชน์ของชงโค 

ชงโคมีสรรพคุณด้านสมุนไพร ตามตำราแพทย์แผนไทย ดังนี้

 เปลือกต้น : แก้ท้องเสีย แก้บิด

ดอก : แก้พิษไข้ร้อนจากเลือดและน้ำดี เป็นยาระบาย

ใบ : ฟอกฝี แผล

ราก : ขับลม

ชาวฮินดูถือว่าชงโคเป็นต้นไม้ของสวรรค์ขึ้นอยู่ในเทวโลก และนับถือว่าเป็นต้นไม้ของพระลักษมีพระชายาของพระนารายณ์ จึงนับเป็นต้นไม้มงคลยิ่งชนิดหนึ่ง  ควรแก่การเคารพบูชา และปลูกเอาไว้ในบริเวณบ้านเรือน หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในฐานะต้นไม้ประดับ ชงโคเหมาะสำหรับปลูกตามสถานที่ต่างๆ มากมายเพราะปลูกง่ายไม่เลือกดินฟ้าอากาศ (ในเขตร้อน) ดูแลรักษาง่าย แข็งแรง ทนทาน ขนาดไม่ใหญ่โตเกินไป ทรงพุ่มใบ ดอกงดงาม ดอกบาน ทนนาน การปลูกหากใช้การเพาะเมล็ด ที่จะออกดอกภายในเวลา ๓-๕ ปี ซึ่งนับว่าไม่นาน หากปลูกจากกิ่งจะเร็วกว่านี้อีกประมาณเท่าตัว

ชงโคอาจจะได้รับความนิยมมากกว่านี้ หากมีชื่อที่ไพเราะถูกใจคนไทย (ภาคกลาง) สันนิษฐานว่าเหตุที่ใช้ชื่อชงโค อาจจะมาจากลักษณะใบแฝดติดกัน คล้ายรอยเท้าวัวก็เป็นได้ แต่ไม่ว่าจะชื่ออะไร ชงโคก็คงมีคุณสมบัติที่ดีงามดั้งเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ดังเช่นที่เคยเป็นมาจากอดีต

Image

เฟื่องฟ้า

 1. พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ แดงจินดา แดงรัตนา แดงบานเย็น  ตรุษจีนด่าง สาวิตรี กฤษณา

 2. พันธุ์ดอสีขาว ได้แก่ ทัศมาลีดอกขาว ขาวน้ำผึ้ง สุมาลี สุวรรณี

 3. พันธุ์ดอสีชมพู ได้แก่ ชมพูจินดา ชมพูทิพย์ ชมพูนุช

 4. พันธุ์ดอกสีม่วง ได้แก่ ม่วงประเสริฐศรี พรสุมาลี ม่วงกฤษณา ทัศมาลี

 5. พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ สุมาลีสีทอง

6. พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ เหลืองอรทัย

การดูแล

แสง               ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ ครั้ง

ดิน               ชอบดินร่วนซุย มีความชุ่มชื้น

ปุ๋ย              ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้งหรือใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา200-300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธ์          ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องโรค ส่วนแมลงนั้นจะมีเพลี้ยรบกวนบ้างในบางครั้ง แต่ควรระวังอย่าให้น้ำขังแฉะเพราะจะทำให้รากเน่า

โรค           ไม่ค่อยมีโรคที่เป็นปัญหา ส่วนแมลงที่รบกวน ได้แก่พวกเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย ซึ่งจะพบมากใน                     

การป้องกันกำจัด  ใช้ยาฉีดพ่นโดยใช้ ไดอาชินอน ตามที่ระบุไว้ในฉลากยา

Image

ดอกเข็ม

 ลักษณะทั่วไปทางพันธุศาสตร์เข็ม

ต้นเข็ม เดิมเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาใต้ จัดว่าเป็นไม้พุ่ม ซึ่งมีความสูง 1-3 เมตร  เข็มหอม หรือเข็มขาวมีสำต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งใกล้ผิวดินจำนวนมาก เราจึงพบว่าเข็มหอมมักอยู่กันเป็นพุ่มแน่น โดยแต่ละต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 1-2 เซนติเมตรเปลือกสีดำหรือม่วงเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีแกมขอบขนาน เรียงตรงข้าม หน้าใบมัน สีเขียวเข้ม หลังใบสีอ่อนกว่าและเห็นเส้นใบชัดเจน ในส่วนของช่อดอก จะมีสีขาว ออกที่ปลายยอด มีเส้นผ่าศูนย์กลางช่อดอก 8-18 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก  ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีเขียวรูปถ้วย ปลายแยกเป็นกลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ยาว 2.5-3 เซนติเมตรปลายหลอดมีกลีบแยกจากกันเป็น 4 กลีบ แต่ละกลีบรูปไข่กว้าง 0.3 เซนติเมตร ยาว 0.6 เซนติเมตร เมื่อดอกบานมีเส้น   ผ่าศูนย์กลาง 1.2-2 เซนติเมตร ดอกย่อยภายในช่อดอกเดียวกันบานในเวลาใกล้เคียงกัน ดอกที่บานใหม่ ๆ จะมีสีขาว บริสุทธิ์ เมื่อใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ดอกมีกลิ่นหอม และออกดอกตลอดปี

การปลูกและขยายพันธุ์ดอกเข็ม

                ขยายพันธุ์ได้หลายวิธี   เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง  ออกรากได้ง่าย ปลูกเลี้ยงและบำรุงรักษาง่าย ทนทาน มีอายุยืนนานหลายปี ชอบดินที่มีความชื้นสูงและชอบแดดจัด ต้นที่ปลูกในที่มีแสงน้อยหรือได้รับร่มเงาของต้นไม้อื่น จะมีกิ่งยืดยาวและไม่ค่อยออกดอก

 ถิ่นกำเนิด :  เป็นพันธุ์ไม้หอมพื้นเมืองแถบอเมริกาใต้

ที่มา http://www.nanagarden.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%A1-10105-13.html