Image

ดอกฟอเก็ทมีน็อต

ในบรรดาดอกไม้ที่มีชื่อแสนจะโรแมนติคมากที่สุด  เห็นจะหนีไม่พ้นดอกหญ้าขนาดเล็กจิ๋วที่มีสีเหมือนกับท้องฟ้ากลางฤดูร้อนของ ประเทศอังกฤษ  เพราะดอกไม้ชนิดนี้ใช้บอกความในใจได้ว่า …. อย่าลืมฉัน

มีเรื่องเล่ากันมาว่า  เมื่อนานมาแล้วตั้งแต่ดอกฟอร์เก็ตมีน็อตยังไม่ได้มีชื่อนี้  มีชายหนุ่มหญิงสาวคู่หนึ่งซึ่งเดาได้ไม่ยากว่าคงเป็นชาวอังกฤษ  เพราะหนุ่มสาวคู่นี้ชอบเดินเที่ยวป่า

ระหว่างทางที่ลัดเลาะไปตามลำธารสายเชี่ยวนั้น  หญิงสาวเห็นดอกหญ้าสีฟ้าสดใสขึ้นอยู่ตามริมฝั่งแล้วเกิดอยากได้ขึ้นมา  ชายหนุ่มจึงอาสาไปเก็บให้ตามแบบฉบับของพระเอกนิยายที่ควรจะเป็น  แต่ปรากฏว่าชายหนุ่มนี้เกิดซุ่มซ่ามและเหยียบพลาดเข้า ก็เลยหล่นลงน้ำไปทั้งตัว

อย่างไรก็ตาม  ชายหนุ่มไม่ทิ้งลวดลายของความเป็นพระเอก  เขาได้โยนดอกไม้ที่เก็บได้ให้กับหญิงสาวพร้อมกับตะโกนว่า “Forget me not!”  ในขณะที่สายน้ำก็ได้พัดพาเอาร่างของเขาออกไปไกลทุกที   ฝ่ายหญิงสาวครั้นได้รับดอกไม้แล้วก็ไม่รอช้า  รีบกระโจนลงน้ำและร้องเรียกตามไปเช่นกันว่า “Forget me not!”

เป็นอันว่าดอกไม้ชนิดนี้ได้ชื่อว่าดอกฟอร์เก็ตมีน็อต  ก็ด้วยเหตุฉะนี้แล

ตามที่เล่ากันมานั้น เรื่องมักจะจบลงที่  หนุ่มสาวคู่นี้หลุดลอยไปกับสายน้ำและไม่มีใครพบเห็นอีกเลย  แต่เพื่อไม่ให้เรื่องนี้กลายเป็นโศกนาฏกรรมไป  จึงจะขอเล่าต่อว่า  หลังจากที่สายน้ำไปพัดพาเอาคนทั้งสองขึ้นสู่ฝั่งแล้ว  ชายหนุ่มหญิงสาวก็ได้แต่งงานกัน  โดยได้เอาดอกไม้ที่พบในวันนั้นมาปลูกในสวนหน้าบ้าน

นับแต่นั้นเป็นต้นมาดอกไม้ชนิดนี้จึงถูกขนานนามว่า “Forget me not!”

ถึงแม้จะเป็นดอกไม้ที่มีคนรู้จักกันมากที่สุดชนิด หนึ่ง  แต่ดอกฟอร์เก็ตมีน็อตก็เป็นพันธุ์ไม้ที่จำแนกได้ยากมากอีกชนิดหนึ่ง   เพราะในกลุ่มนี้มีดอกที่ลักษณะคล้ายคลึงกันถึง 7 ชนิด โดยต่างกันที่ใบและพุ่มต้น ส่วนดอกนั้นมีขนาดและรายละเอียดบางประการเกือบจะใกล้เคียงกัน

 

ดอกฟอร์เก็ตมีน็อตเป็นดอกไม้ที่สวยงามมีความหมายมากๆ และนีก็ชอบมากเลยทีเดียว ชอบทั้งความสวยงามของดอกและตำนานอันแสนโรแมนติก

 

ที่มา http://phrajew.wordpress.com/2006/06/21/forgetmenot-อย่าลืมฉัน/

Image

 

ดอกกล้วยไม้

กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง

แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา

การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงาม ของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวัน ตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ ที่หายากและมีราคาแพง

หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้น ให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการ กล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัด ต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวง แคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ใน ประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วย ไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา.

ที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89

Image

 

ดอกชงโค

ชงโคเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อมสูงประมาณ ๕-๑o เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมน มองดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้ายใบกาหลง แต่เว้าลงลึกกว่า) ใบทั้งสองด้านมักพันเข้าหากันเหมือนปีกผีเสื้อ ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นใบแฝด (เหมือนกาหลง) เพราะปกติใบไม้ทั่วไปจะมีปลายใบแหลม หรือกลมมน ลักษณะของชงโคเป็นพุ่มค่อนข้างกว้างและใบดกทึบ เป็นต้นไม้ผลัดใบในฤดูหนาว (พฤศจิกายน-ธันวาคม) แล้วผลิใบ ใหม่ราวเดือนเมษายน-พฤษภาคมดอก ชงโคจะเริ่มออกดอกหลังจากผลิใบชุดใหม่ออกมาแล้ว คือหลังเดือนเมษายนเป็นต้นไป ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อยาวกว่าดอกกาหลง แต่ละช่อมีดอกย่อยราว ๖-๑o ดอก แต่ละดอกมีกลีบย่อย ๕ กลีบ รูปทรงคล้ายดอกกล้วยไม้ ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาว ๕ เส้น ยื่นไปด้านหน้าและปลายโค้งขึ้นด้านบน มีเกสรตัวเมียอยู่ตรงกลาง ๑ เส้น มีความยาวและโค้งขึ้นสูงกว่าเกสรตัวผู้ ดอกบานเต็มที่กว้างราว ๗-๙ เซนติเมตร มีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบดอกชงโคมีสีชมพูถึงม่วงแดง ผันแปรไปตามสายพันธุ์ของแต่ละต้นที่เกิดจากการเพาะเมล็ด หากต้องการให้มีสีเดียวกัน ต้องใช้วิธีขยายพันธุ์ด้วยกิ่ง เช่น ติดตาหรือทาบกิ่ง ดอกชงโคติดต้นอยู่ได้นานนับเดือน

ผล ลักษณะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่ว แก่ประมาณเดือนกันยายน-ธันวาคม ขนาดกว้างราว ๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๕-๒o เซนติเมตร เมล็ดค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความยาวของฝัก

ถิ่นกำเนิดเดิมของชงโคอยู่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย พม่า ไทย กัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นต้น ในประเทศไทยพบขึ้นปะปนอยู่กับต้นไม้ชนิดอื่นๆ ในป่าโปร่งผสม และป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือและภาคกลางจะพบมากกว่าภาคอื่น คนไทยรู้จักชงโคมาตั้งแต่อพยพมาอยู่พื้นที่ประเทศ ไทยปัจจุบัน ชื่อชงโคมีปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทย สมัยอยุธยาเป็นต้นมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ พ.ศ. ๒๔๑๖ อธิบายเกี่ยวกับชงโคไว้ว่า”ชงโค เป็นชื่อต้นไม้อย่างหนึ่งเหมือนอย่างต้นกาหลง  แต่สีมันแดง” แสดงว่าคนไทยกรุงเทพฯ สมัย ๑๓๒ ปีก่อนโน้น รู้จักทั้งกาหลงและชงโคเป็นอย่างดี ว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่สีของดอกเท่านั้น เพราะกาหลงมีกลีบดอกสีขาว ส่วนชงโคกลีบดอกออกไปทางสีแดง (ชมพู-ม่วง) ชื่อที่เรียกกันในเมืองไทยคือ ชงโค (กรุงเทพฯ-ภาคกลาง) เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน) เสี้ยวดอกแดง (เหนือ) ภาษาอังกฤษ เรียก ORCHID TRE  

การดูแล

ชงโคเป็นไม้ที่ชอบแดด ควรปลูกในที่ได้รับแสงแดดทั้งวัน ดินปลูกควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดี มีความชื้นสูง

ประโยชน์ของชงโค 

ชงโคมีสรรพคุณด้านสมุนไพร ตามตำราแพทย์แผนไทย ดังนี้

 เปลือกต้น : แก้ท้องเสีย แก้บิด

ดอก : แก้พิษไข้ร้อนจากเลือดและน้ำดี เป็นยาระบาย

ใบ : ฟอกฝี แผล

ราก : ขับลม

ชาวฮินดูถือว่าชงโคเป็นต้นไม้ของสวรรค์ขึ้นอยู่ในเทวโลก และนับถือว่าเป็นต้นไม้ของพระลักษมีพระชายาของพระนารายณ์ จึงนับเป็นต้นไม้มงคลยิ่งชนิดหนึ่ง  ควรแก่การเคารพบูชา และปลูกเอาไว้ในบริเวณบ้านเรือน หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในฐานะต้นไม้ประดับ ชงโคเหมาะสำหรับปลูกตามสถานที่ต่างๆ มากมายเพราะปลูกง่ายไม่เลือกดินฟ้าอากาศ (ในเขตร้อน) ดูแลรักษาง่าย แข็งแรง ทนทาน ขนาดไม่ใหญ่โตเกินไป ทรงพุ่มใบ ดอกงดงาม ดอกบาน ทนนาน การปลูกหากใช้การเพาะเมล็ด ที่จะออกดอกภายในเวลา ๓-๕ ปี ซึ่งนับว่าไม่นาน หากปลูกจากกิ่งจะเร็วกว่านี้อีกประมาณเท่าตัว

ชงโคอาจจะได้รับความนิยมมากกว่านี้ หากมีชื่อที่ไพเราะถูกใจคนไทย (ภาคกลาง) สันนิษฐานว่าเหตุที่ใช้ชื่อชงโค อาจจะมาจากลักษณะใบแฝดติดกัน คล้ายรอยเท้าวัวก็เป็นได้ แต่ไม่ว่าจะชื่ออะไร ชงโคก็คงมีคุณสมบัติที่ดีงามดั้งเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ดังเช่นที่เคยเป็นมาจากอดีต

Image

เฟื่องฟ้า

 1. พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ แดงจินดา แดงรัตนา แดงบานเย็น  ตรุษจีนด่าง สาวิตรี กฤษณา

 2. พันธุ์ดอสีขาว ได้แก่ ทัศมาลีดอกขาว ขาวน้ำผึ้ง สุมาลี สุวรรณี

 3. พันธุ์ดอสีชมพู ได้แก่ ชมพูจินดา ชมพูทิพย์ ชมพูนุช

 4. พันธุ์ดอกสีม่วง ได้แก่ ม่วงประเสริฐศรี พรสุมาลี ม่วงกฤษณา ทัศมาลี

 5. พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ สุมาลีสีทอง

6. พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ เหลืองอรทัย

การดูแล

แสง               ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ ครั้ง

ดิน               ชอบดินร่วนซุย มีความชุ่มชื้น

ปุ๋ย              ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้งหรือใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 อัตรา200-300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธ์          ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องโรค ส่วนแมลงนั้นจะมีเพลี้ยรบกวนบ้างในบางครั้ง แต่ควรระวังอย่าให้น้ำขังแฉะเพราะจะทำให้รากเน่า

โรค           ไม่ค่อยมีโรคที่เป็นปัญหา ส่วนแมลงที่รบกวน ได้แก่พวกเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย ซึ่งจะพบมากใน                     

การป้องกันกำจัด  ใช้ยาฉีดพ่นโดยใช้ ไดอาชินอน ตามที่ระบุไว้ในฉลากยา

Image

ดอกเข็ม

 ลักษณะทั่วไปทางพันธุศาสตร์เข็ม

ต้นเข็ม เดิมเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาใต้ จัดว่าเป็นไม้พุ่ม ซึ่งมีความสูง 1-3 เมตร  เข็มหอม หรือเข็มขาวมีสำต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งใกล้ผิวดินจำนวนมาก เราจึงพบว่าเข็มหอมมักอยู่กันเป็นพุ่มแน่น โดยแต่ละต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 1-2 เซนติเมตรเปลือกสีดำหรือม่วงเข้ม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปรีแกมขอบขนาน เรียงตรงข้าม หน้าใบมัน สีเขียวเข้ม หลังใบสีอ่อนกว่าและเห็นเส้นใบชัดเจน ในส่วนของช่อดอก จะมีสีขาว ออกที่ปลายยอด มีเส้นผ่าศูนย์กลางช่อดอก 8-18 เซนติเมตร มีดอกย่อยจำนวนมาก  ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีเขียวรูปถ้วย ปลายแยกเป็นกลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ยาว 2.5-3 เซนติเมตรปลายหลอดมีกลีบแยกจากกันเป็น 4 กลีบ แต่ละกลีบรูปไข่กว้าง 0.3 เซนติเมตร ยาว 0.6 เซนติเมตร เมื่อดอกบานมีเส้น   ผ่าศูนย์กลาง 1.2-2 เซนติเมตร ดอกย่อยภายในช่อดอกเดียวกันบานในเวลาใกล้เคียงกัน ดอกที่บานใหม่ ๆ จะมีสีขาว บริสุทธิ์ เมื่อใกล้โรยจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ดอกมีกลิ่นหอม และออกดอกตลอดปี

การปลูกและขยายพันธุ์ดอกเข็ม

                ขยายพันธุ์ได้หลายวิธี   เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง  ออกรากได้ง่าย ปลูกเลี้ยงและบำรุงรักษาง่าย ทนทาน มีอายุยืนนานหลายปี ชอบดินที่มีความชื้นสูงและชอบแดดจัด ต้นที่ปลูกในที่มีแสงน้อยหรือได้รับร่มเงาของต้นไม้อื่น จะมีกิ่งยืดยาวและไม่ค่อยออกดอก

 ถิ่นกำเนิด :  เป็นพันธุ์ไม้หอมพื้นเมืองแถบอเมริกาใต้

ที่มา http://www.nanagarden.com/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%A1-10105-13.html